TCMA ประชาสัมพันธ์การใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก.2564 เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก

21 ก.พ. 2566




      การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climatc Change) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhousc Gasses Emission Reduction) เป็นวาระสำคัญระดับโลก ที่ด้องการความร่วมมือดำเนินการจากทุกภาคส่วน และ
ประเทศไทยได้ประกาศยกระดับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นร้อยละ 40 พร้อมทั้งมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Ncutral) ในปี พ.ศ. 2593 และปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในปี พ.ศ. 2608 โดยแผนที่นำทางลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (Nationally Determined Contribution Roadmap on Mitigation 21-2030: NDC Roadmap) ในสาขากระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ (Industrial Processes and Product Use: IPPU) กำหนดให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ดำเนินมาตรการทดแทนปูนเม็ด (Clinker Substitution) ซึ่งเป็นมาตรการที่มีศักยภาพสูงในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต

      สมาคมอุตสาหกรรมปูนชีเมนต์ไทย (TCMA) ตระหนักถึงความสำคัญ และพร้อมขับเคลื่อนดำเนินการสนับสนุนนโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาครัฐให้บรรลุเป้าหมาย จึงสนับสนุนให้ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ของไทยทุกราย ซึ่งเป็นสมาชิกของ TCMA วิจัย พัฒนา และนำเทดโนโลยีด้านวัสดุศาสตร์มาใช้ในกระบวนการผลิต เกิดเป็น "ปูนชีเมนต์ไฮดรอลิก" ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2594 ที่มีคุณสมบัติสำคัญไม่แตกต่างจาก
ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มอก. 15 โดยสิ่งที่สำคัญและเกิดประโยชน์ คือ กระบวนการผลิดปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า     

      จากความร่วมมือของภาคีร่วมดำเนินการกว่า 30 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาควิชาชีพ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษา โดยการสนับสนุนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาคิและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกันดำเนินการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ การปรับปรุงมาตรฐานวิศวกรรมงานก่อสร้างและกฎระเบียบของหน่วยงาน และ
การส่งเสริมให้มีการใช้ปูนชีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 อย่างแพร่หลายทั่วประเทศ แทนปูนซีเมนปอร์ตแลนด์ มอก. 15 ในงานก่อสร้างประเภทต่าง ๆ ทั้งงานโครงสร้างทั่วไป งานโครงสร้างขนาดใหญ่ งานพื้นทาง งานปรับปรุงคุณภาพชั้นพื้นทางและชั้นรองพื้นทาง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์คอนกรีตหล่อสำเร็จ ทำให้เมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 300,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเร็วกว่าเป้าหมายตามแผนที่นนำทางฯ ของประเทศถึง 9 ปี นับเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่เป็นรูปรรรมที่สำคัญ และขณะนี้อยู่ระหว่างร่วมกันขับเคลื่อนเป้าหมายในระยะต่อไป 'MISSION 2023' ลดการปล่อยก๊ซเรือนกระจกอีก 1,000,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี พ.ศ. 2566

      TCMA จึงขอเรียนเชิญทุกภาคส่วน ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก นำประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมาย Thailand Net Zero Emission รวมทั้งร่วมกับประชาคมโลกในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสในสิ้นศตวรรษนี้ ด้วยการส่งเสริมให้ทุกงานก่อสร้างและผลิตภัณฑ์คอนกรีตใช้ปูนซีมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 ทั้งนี้ ผู้ผลิตปูมซีเมนต์ของไทยทุกรายจะเร่งนำปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 เข้าสู่การใช้งานทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง แทนปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ มอก. 15 ทั้งหมด โดยปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก มอก. 2594 จะเข้ามาเป็นปูนโครงสร้างหลักของไทย และพร้อมยกเลิกการจัดจำหน่ายปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 ตาม มอก. 15 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 และปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 3 ตาม มอก. 15 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม  คลิก
ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก หนึ่งในมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยตามข้อตกลงปารีส  คลิก
คู่มือประชาชน ลดโลกร้อนด้วยปูนลดโลกร้อน (ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก)  คลิก



<< ดูทั้งหมด >>