เกี่ยวกับ พวต.
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากปัจจุบันวิชาชีพสถาปัตยกรรมเป็นวิชาชีพที่ต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันในกระแสโลกาภิวัฒน์และการค้าเสรี และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้มีความต้องการงานด้านสถาปัตยกรรมที่มีคุณภาพ และเพื่อเป็นการประกันว่าผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมจะมีความรู้ความสามารถที่ทันสมัยอยู่เสนอ อันจะเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธาณชนในการให้บริการวิชาชีพ อีกทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักการมาตรฐานระดับนานาชาติ ซึ่งมีการบังคับให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีการเพิ่มพูนความสามารถและเสริมประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยการเข้าร่วมกิจกรรม การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (พวต.) (Continuing Professional Development: CPD)
สภาสถาปนิก ถือว่าเป็นหน้าที่หลักที่ต้องพัฒนา ส่งเสริม เพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ใหม่ ให้กับสมาชิกสภาสถาปนิก เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ มาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
ความหมายของ พวต
การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (พวต.) หรือ Continuing Professional Development (CPD) คือ กลไก หรือกิจกรรมอย่างมีแบบแผน ที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ใหม่ให้กับสมาชิก สภาสถาปนิก ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพ
วัตถุประสงค์ของ พวต.
- เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ให้กับสมาชิกสภาสถาปนิก อันหลักเป็นหลักประกันและส่งเสริมความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนในการให้บริการวิชาชีพ
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การสัมมนา การศึกษา การวิจัยอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง
- เพื่อใช้ในการขึ้นทะเบียนเป็นสถาปนิกอาเซียน
- เพื่อใช้ประกอบการเลื่อนระดับเป็นสามัญสถาปนิก หรือวุฒิสถาปนิก
การดำเนินการของสภาสถาปนิก เพื่อให้เกิด พวต.
สภาสถาปนิกดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการ การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง(พวต.) ของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมที่เป็นบุคคลธรรมดา ดังนี้
- กำหนดเกณฑ์กิจกรรม พวต.
- เกณฑ์ขององค์กรที่เป็นผู้จัดกิจกรรม พวต.
- รับรองสถาบัน /องค์กร/หน่วยงาน ที่จะให้เป็นผู้จัดกิจกกรมพวต.
- รับรองกิจกรรมพวต. ต่าง ๆ ที่ผู้จัดกิจกรรมพวต. เสนอมาเพื่อพิจารณาประเภทของกิจกรรมและจำนวนหน่วย พวต.