เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2566 ณ ชั้น 2 หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน ได้จัดแถลงข่าวการจัดงาน “งานสถาปนิก’66” งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 35 พร้อมเสวนาในหัวข้อ "Cultural Sustainability" โดยมีคณะผู้บริหารและประธานจัดงานจากสมาคมต่าง ๆ ร่วมพูดคุยถึงภาพรวมการจัดงานและร่วมเสวนา ดังนี้
คุณปุยฝ้าย เผยว่า งานสถาปนิก’66 จะเป็นเวทีสื่อกลางสำหรับผู้คนที่จะมารวมตัวกันเพื่อพูดคุย ตั้งคำถาม ช่วยกันหาคำตอบ และปรับเปลี่ยนคุณลักษณะหรือวิธีการทำงานเพื่อเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยงานในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ตำถาด : Time of Togetherness” เพื่อแสดงถึงการผสมผสานกันของวิชาชีพสถาปัตยกรรมทุกแขนง รวมถึงทุกสาขาอาชีพที่ทำงานร่วมกัน และนับเป็นครั้งแรกที่มีประธานจัดงาน 5 ท่านจาก 5 องค์กรวิชาชีพ และยังเป็นการรวมตัวกันครั้งสำคัญของวิชาชีพทั้ง 4 สาขาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะต่อการออกแบบสิ่งแวดล้อม เพื่อภารกิจสำคัญในการสร้างสังคมและโลกที่ยั่งยืนกว่าเดิม เปรียบเสมือน ‘ตำ’ ที่เลือกเครื่องปรุง วัตถุดิบ คลุกเคล้าให้รสชาติถูกปากคนรับประทาน ซึ่งคนรับประทานก็คือโลกและสังคมที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงท่ามกลางความท้าทายของยุคสมัย
สำหรับไฮไลต์ภายในงานครั้งนี้คือ Human Library หรือห้องสมุดมนุษย์ ที่ผู้ร่วมงานสามารถรับรู้เรื่องราวในหนังสือผ่านการฟังและพูดคุยกับนักเขียนตัวจริง พบกับเหล่าหนังสือมนุษย์หลากหลายหมวดหมู่ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราวจากชีวิตจริง ประสบการณ์จริง อาทิ อมตะ หลูไพบูลย์, บูม ธริศร, จูน เซคิโน, ป้าเต็ด ยุทธนา บุญอ้อม และอีกมากมายตลอด 6 วัน นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการ All Member : Design Showcase ที่จัดแสดงผลงานการออกแบบของเหล่าสถาปนิกและนักออกแบบของทั้ง 4 สมาคมวิชาชีพทางด้านสถาปัตยกรรม
คุณเมษา กล่าวว่า ทางสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย (TIDA) ได้นำพื้นที่จัดแสดง TIDA Salone Designer Showcase ที่เคยจัดขึ้นภายในงานสถาปนิกเมื่อหลายปีก่อนกลับมาจัดอีกครั้ง โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างดีไซเนอร์กับซัพพลายเออร์วัสดุ ผู้รับเหมา และจัดสร้างห้องต่าง ๆ ขึ้นมา โดยครั้งนี้จะเป็นการ collaboration กันระหว่างดีไซเนอร์ชั้นนำ, BCG Hero Product, sustainable material และ contractor อีกทั้งยังมีการมอบรางวัล TIDA Thesis Awards ประกวดผลงานธีสิสของนิสิตนักศึกษา พร้อมทั้งจัดแสดงผลงาน TIDA Awards สำหรับสถาปนิกมืออาชีพอีกด้วย และสำหรับบุคคลทั่วไปทาง TIDA ได้เตรียมกิจกรรม TIDA Talk ภายในโซน TIDA SOCIETY ให้ผู้ที่สนใจได้ร่วมรับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานการออกแบบภายใน มุมมองหรือวิธีดำเนินการที่น่าสนใจ และยังมีสัมมนาทางวิชาการสำหรับนักออกแบบในทุกประเภทงานอีกด้วย นอกจากนี้ทาง TIDA ยังให้จัดเตรียมพื้นที่พักผ่อนและอาหารว่างไว้บริการ พร้อมโซนจำหน่ายของที่ระลึกสำหรับผู้ที่มาร่วมงาน
คุณมังกร กล่าวว่า ภูมิสถาปัตยกรรมเป็นสาขาวิชาหนึ่งของสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับพื้นที่ภายนอกอาคาร ซึ่งนอกเหนือจากการจัดพื้นที่ธรรมชาติรอบ ๆ อาคารแล้ว ยังมีมิติอื่นที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของทุกคน โดยภายในพื้นที่จัดแสดงของสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย (TALA) เป็นการโชว์เคสที่สำคัญทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรมของเมืองไทยและภูมิภาค ซึ่งจะทำให้เห็นภาพและเข้าใจงานภูมิสถาปนิกมากยิ่งขึ้น และได้จัดพื้นที่ TALA CLASSROOM เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานพูดคุย นั่งเล่น นั่งฟัง ในรูปแบบอารีน่า เพื่อให้มีความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่เป็นทางการมากนัก โดยจะพูดคุยในประเด็นที่เกี่ยวกับภูมิสถาปนิก เช่น Chef อาหารกับภูมิสถาปนิก, Certified Arborist, ความรู้พื้นฐานและความสำคัญของดินกับงานภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมสนุก ๆ อีกมากมายสำหรับบุคคลทั่วไป เช่น การสนทนาเกษตรกรกับภูมิสถาปนิก และการถ่ายภาพในงานภูมิทัศน์จากช่างภาพมืออาชีพ
ผศ.คมกริช กล่าวถึงการจัดกิจกรรมของสมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย (TUDA) ว่า ทาง TUDA ได้จัดพื้นที่แสดงผลงานที่เน้นเรื่องของการพัฒนาเมือง ทั้งในแง่ปัญหาและโอกาสในการแก้ไขพัฒนาให้มีความชัดเจนขึ้น เช่น ปัญหาน้ำและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงโอกาสการพัฒนาในด้านต่าง ๆ โดยแบ่งพื้นที่เป็น 5 โซน ได้แก่ TUDA ZEB (แซบ) ที่รวบรวมผลงานธีสิสและผลงานออกแบบ รวมถึงการศึกษาวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ, TUDA x Muang (เมือง) จัดแสดงผลงานแบบเมืองที่ TUDA ร่วมเป็นเจ้าภาพ เช่น การประกวดเมืองพัทยา, TUDA X Mhu (หมู่) หรือ TUDA and Friends จัดแสดงผลงานของบริษัทที่มีความโดดเด่นด้านการออกแบบและพัฒนาเมือง, TUDA Khak (คัก) จัดแสดงผลงานการออกแบบเมืองของสมาชิก TUDA และโซน TUDA Muan (ม่วน) พื้นที่สำหรับพักผ่อนและพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน
คุณกชกร เผยว่า งานสถาปนิกปีนี้ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานตลอดจนกิจกรมต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับคอนเซปต์ “ตำถาด : Time of Togetherness” โดยสภาสถาปนิกในฐานะ “ถาด” ที่รวบรวมสถาปนิกทุกสาขาเอาไว้ จึงมุ่งเน้นการทำงานประสานกันเป็นหนึ่งเดียวของคนในแวดวงสถาปนิกและการออกแบบ สำหรับกิจกรรมที่สภาสถาปนิกจัดภายในงานคือ ACT Forum’23 งานประชุมสัมมนานานาชาติทางสถาปัตยกรรม ซึ่งในปีนี้จะจัดพิเศษกว่าครั้งก่อน ๆ โดยได้เชิญเหล่านักออกแบบครอบคลุมทั้ง 4 สาขาวิชาชีพสถาปัตยกรรม ทั้งสถาปนิก มัณฑนากร ภูมิสถาปนิก นักออกแบบผังเมือง ที่มีชื่อเสียงระดับโลกทั้งในและต่างประเทศ อาทิ Wong Mun Summ จาก WOHA (สิงคโปร์), Damian Thompson จาก LatStudios (ออสเตรเลีย), Jakob Dunkl จาก querkraft architects (ออสเตรีย) มาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ด้านการออกแบบ เพื่อสร้างมุมมองแนวคิดและแนวทางการทำงานร่วมกันกับวิชาชีพอื่น ๆ
ด้านคุณศุภแมน ในฐานะออแกไนเซอร์จัดงาน กล่าวว่า งานสถาปนิก’66 ถือเป็นการกลับมาจัดงานอย่างเต็มรูปแบบเหมือนก่อนช่วงโควิด-19 บนพื้นที่ 75,000 ตารางเมตร โดยได้รวบรวมนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการด้านการออกแบบและก่อสร้างครบวงจร จากบริษัทภายในประเทศและต่างประเทศไว้กว่า 800 บริษัท โดยมีสัดส่วนผู้แสดงสินค้าจากต่างประเทศมากกว่าการจัดงานในปีที่ผ่านมาถึง 7 เท่า หรือคิดเป็น 21.33% อาทิ ประเทศออสเตรเลีย จีน ฟินแลนด์ ฮ่องกง อินเดีย อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่างานสถาปนิกเป็นเวทีจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการก่อสร้างที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
โดยตลอดระยะเวลาการจัดงานทั้ง 6 วัน คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานราว 325,000 ราย และสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยเฉพาะในกลุ่มวัสดุก่อสร้างได้กว่า 22,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อน ซึ่งปัจจัยที่สำคัญคือสถานการณ์โควิด-19 มีทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้มีผู้แสดงสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาร่วมงานมากยิ่งขึ้น อีกทั้งทางผู้จัดงานยังได้ทำความร่วมมือกับผู้จัดงานแสดงสินค้าด้านสถาปัตยกรรมและวัสดุก่อสร้างในภูมิภาคเอเชีย เช่น ประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไต้หวัน ซึ่งเป็นโอกาสที่จะได้ประชาสัมพันธ์งานไปยังกลุ่มพันธมิตรที่อยู่ต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีไฮไลต์และกิจกรรมในส่วนพื้นที่จัดแสดงสินค้าที่ถือว่าโดดเด่นไม่แพ้งานในปีที่ผ่านมา ได้แก่
นอกจากนี้ ภายในงานแถลงข่าวยังมีการเสวนาในหัวข้อ Cultural Sustainability การสร้างความยั่งยืนทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงงานสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของผลงาน ผ่านมุมมองของทั้ง 5 องค์กรวิชาชีพ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนางานสถาปัตยกรรมไทยให้ก้าวไปอีกระดับ พร้อมทั้งสัมภาษณ์สถาปนิกผู้ออกแบบและตัวแทนซัพพลายเออร์วัสดุก่อสร้างที่จัดแสดงผลงานในโซน Thematic Pavilion ถึงแรงบันดาลใจในการออกแบบและการสร้างสรรค์ผลงานด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ก่อสร้างอีกด้วย
พบกับความม่วน ความแซ่บ ความนัว ในงานสถาปนิก’66 (Architect Expo 2023) ในวันที่ 25-30 เม.ย. 2566 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี พร้อมพบกับกิจกรรม นิทรรศการ และผลงานไฮไลต์ของสมาคมวิชาชีพและองค์กรวิชาชีพทั้ง 5 องค์กร ภายในงาน
ติดตามข่าวสารและข้อมูลงาน ACT Forum’23 ได้ที่ เว็บไซต์ www.actforum2023.com และเฟซบุ๊กแฟนเพจ ACT Forum
![]() |
![]() |
|