งานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม บ้านกลางเมือง The Edition สาทร-สุขสวัสดิ์
Baan Klang Muang The Edition Sathorn-Suksawat


27 มิ.ย. 2564 | 32,112
ปรับขนาดตัวอักษร
 
+
/
-
  
3




ผู้ออกแบบ :
ผู้เขียน : ชัชชัย เปรมประวัติ


บทคัดย่อภาษาไทย

ด้วยแนวความคิดหลักของโครงการที่ได้แนวความคิดมาจาก เรือนสี่ประสาน “Shi He Yuan“  ซึ่งเป็นรูปแบบบ้านที่พบเห็นได้ทั่วไปของชาวจีน ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัวเดี่ยว หรือครอบครัวใหญ่ และครอบครัวขยาย อันเป็นสัญลักษณ์ ของความ มั่งคั่งสมบูรณ์ และ ความเจริญรุ่งเรือง  จึงได้นำแนวความคิดดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการออกแบบพื้นที่สภาพแวดล้อมแบบปิดที่โอบล้อม สร้างพื้นที่ส่วนตัวที่สงบปลอดภัย และ ให้ความสำคัญของลำดับขั้นความสำคัญ และความเคารพผู้อาวุโสของคนในบ้าน และมุ่งการสร้างปฏิสัมพันธ์ของคนในครอบครัว



Abstract

With The Main Concept “Shi He Yuan“  the historical type of residence that was commonly found through China. Would be occupied by a single, usually large and extended family, signifying wealth and prosperity. We brought it represent to enclosed environment for privacy living, priority, respect , sharing and family interactive



บทนำภาษาไทย

Night Scene in บ้านกลางเมือง The Edition สาทร-สุขสวัสดิ์

การออกแบบ Lighting ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ที่ทางผู้ออกแบบในงานนี้ทั้งสถาปนิกและภูมิสถาปนิก ร่วมกันสรรค์สร้างในการให้แสงสว่างมีรูปแบบเฉพาะในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ เพื่อสร้างบรรยากาศ การใช้งาน การเน้นพื้นที่เฉพาะจุด การขับDetail ในงานออกแบบ หรือการทำหน้าที่เป็นจุดนำสายตา เป็นต้น



บทนำภาษาอังกฤษ

Lighting for night scene is a last jigsaw to complete a full picture of design. Both architects & landscape architect has created lighting in different ideas. To create an atmosphere , functional , highlight areas , emphasize on detail design , visual guideline etc.



1. ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ

โครงการ
บ้านกลางเมือง The Edition สาทร-สุขสวัสดิ์
ประเภทโครงการ โครงการบ้านพักอาศัยแนวราบ จำนวน 299 หลัง
สถาปนิก/นักออกแบบ
สถาปนิกออกแบบซุ้มประตูโครงการ บริษัท Verb.Project, สถาปนิกออกแบบอาคารสโมสร บริษัท Warhitect, ภูมิสถาปนิก บริษัท สตูดิโอโมโรว่า จำกัด นางสาว วรดา แสงสวัสดิ์ (ผู้ออกแบบหลัก) นาย ชัชชัย เปรมประวัติ (ผู้ควบคุมการออกแบบ)
ส่วนงานที่ผู้เสนอแบบรับผิดชอบ/สัดส่วน
เจ้าของโครงการ
บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
วิศวกร/ที่ปรึกษาโครงการ
ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
ผู้ก่อสร้าง/ผู้รับเหมาก่อสร้าง
งบประมาณการก่อสร้าง
ระยะเวลาในการก่อสร้าง
วันที่โครงการแล้วเสร็จ
2563

2. ข้อมูลการออกแบบโครงการ

2.1 ที่มาความสำคัญของโครงการ

      โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่เขตทุ่งครุ ใกล้บริเวณปากน้ำสมุทรปราการ ซึ่งเป็นเมืองที่ชาวจีนอพยพจากแผ่นดินใหญ่ใช้เป็นที่ก่อร่างสร้างตัว โดยประกอบอาชีพตามท่าเรือ เป็นพ่อค้าแม่ค้า ทำสวนผัก โรงฝิ่นและอื่นๆ ด้วยความขยันและทักษะในการค้าขายทำให้ชาวจีนเหล่านั้นมีความร่ำรวย กลายเป็นเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดใหญ่ด้านพาณิชยกรรม และธุรกิจอื่นๆเป็นจำนวนมาก และสืบทอดกิจการ โดยลูกหลานมาจนปัจจุบัน

      ดังนั้นด้วยโครงการตั้งอยู่ในบริเวณที่มีคนไทยเชื้อสายจีนที่สืบทอดกิจการจากบรรพบุรุษจำนวนมากอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ จึงเป็นที่มาในการตั้งเป้าหมายของโครงการที่ต้องการสร้างกลุ่มบ้านพักอาศัย ที่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตของครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีนเหล่านี้ ที่กำลังมองหาการขยับขยายครอบครัว โดยที่ยึดหลักการให้ความสำคัญและการมีปฏิสัมพันธ์ของคนในครอบครัวให้ได้ใช้เวลาร่วมกัน ลำดับความสำคัญ ความสงบและความเป็นส่วนตัว ความเชื่อและความมุ่งหมายตามวิถีชาวจีน

ภาพที่ 1 นำแนวความคิดของ เรือนสี่ประสาน เป็นแนวคิดหลักของโครงการ
 
2.2 การวิเคราะห์ปัญหา วิธีการออกแบบ หรือ กระบวนการออกแบบ และข้อจำกัดในการออกแบบ
2.3 แนวความคิดในการออกแบบ

แนวความคิดหลักของโครงการ

       ตัวโครงการมีแนวความคิดหลัก ในการนำ แนวความคิดของ “เรือนสี่ประสาน” (ภาพที่ 2) ซึ่งเป็นรูปแบบบ้านของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ในอดีต คือบ้านที่ล้อมรอบด้วยกำแพงทั้งสี่ด้านมีลานบ้านอยู่ตรงกลาง มีแกนเส้นกลางแบ่งเรือนบ้านออกเป็น2ส่วนที่มีความสมมาตรกัน  โดยแบ่งเป็นพื้นที่เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนคอร์ทพื้นที่ภายนอก และส่วนคอร์ทพื้นที่ภายใน โดยส่วนคอร์ทพื้นที่ภายนอกจากประตูใหญ่จะแบ่งกำแพงที่แสดงขอบเขตของโลกภายนอกกับพื้นที่ตัวบ้านและกำแพงชั้นในกั้นพื้นที่อีกชั้นนึง เป็นเหมือนส่วนต้อนรับ และในขณะเดียวกันก็เป็นเหมือนส่วนที่แยกความเป็นส่วนตัวจากครอบครัวภายในกับแขกที่มาเยี่ยมเยียน ส่วนคอร์ทพื้นที่ภายใน จะแบ่งเป็นเรือนใหญ่ เรือนเล็ก หันหน้าเข้าหาลานตรงกลางบ้าน แสดงให้เห็นการรวมกันของสมาชิกในครอบครัวที่จะได้ใช้พื้นที่รวมตัวไหว้พระจันทร์ในเทศกาลไหว้พระจันทร์ รับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกัน

     ในรูปแบบของเรือนสี่ประสานนี้ เป็นการแสดงถึงรูปแบบของสภาพแวดล้อมแบบปิดที่สร้างพื้นที่ส่วนตัวที่สงบปลอดภัย และ ให้ความสำคัญของลำดับขั้นความสำคัญ และความเคารพผู้อาวุโสของคนในบ้าน และมุ่งการสร้างปฏิสัมพันธ์ของคนในครอบครัว

แนวความคิดในงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม

    ตัวโครงการได้แบ่งแปลงและกลุ่มรูปแบบบ้านและอาคารออกเป็น 2 รูปแบบ คือกลุ่มบ้านที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นครอบครัวใหญ่ และกลุ่มบ้านที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มสร้างครอบครัวใหม่  โดยมีส่วนกลางของโครงการเป็นส่วนต้อนรับอยู่หน้าโครงการ (ภาพที่ 3) จากการวางกลุ่มอาคารของโครงการข้างต้น ทำให้มองเห็นพื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มอาคาร 3 แห่ง เป็นพื้นที่สีเขียวที่มีศักยภาพที่จะเป็นพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกันของกลุ่มอาคารนั้นๆ โดย พื้นที่สีเขียวในส่วนพื้นที่ว่างแรกนั้น จะเป็นพื้นที่สวนหลักของโครงการ และเป็นสวนที่เป็นเสมือนส่วนต้อนรับ พื้นที่ว่างในส่วนที่ 2,3 จะเป็นสวนลำดับรองลงมา ที่จะเป็นพื้นที่สีเขียวในกลุ่มอาคารตามกลุ่มรูปแบบบ้าน

ภาพที่ 2 แสดงแนวคิด เรือนสี่ประสาน
 
ภาพที่ 3 ตัวโครงการได้แบ่งแปลงและกลุ่มรูปแบบบ้านและอาคารออกเป็น 2 รูปแบบ
 
ภาพที่ 4 พื้นที่ว่างที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มอาคาร 3
 

ภาพที่ 5 การใช้ Moon Gate อย่างสวนจีนเสมือนประตูที่ส่งผ่านจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง

 

จึงได้เห็นถึงความสำคัญของความเชื่อมต่อกันของพื้นที่ว่างสีเขียวทั้ง 3 จุด โดย พยายามจะให้พื้นที่ว่างทั้ง 3 จุดนี้ มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความหมาย การใช้งาน และรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป แต่ยังมีสิ่งที่สื่อถึงความเชื่อมโยงกันอยู่ ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวที่ออกมาเป็นแนวความคิดหลักของงานภูมิสถาปัตยกรรม (ภาพที่ 4) จึงเป็นที่มาของการใช้รูปแบบของ Moon Gate (ภาพที่ 5) ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไปในสวนจีน ที่เป็นเสมือนประตูที่ส่งผ่านจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ผนวกกับการนำเอารูปแบบ สัญลักษณ์ภาษาจีนที่ชาวจีนมักจะนำมาติดที่กำแพงเพื่ออวยพรให้แก่กัน มาเป็นส่วนหนึ่งในการขยายความรูปแบบและเอกลักษณ์ของสวนนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย (ภาพที่ 6)

ภาพที่ 6 สัญลักษณ์ภาษาจีนถูกนำมาใช้ในการออกแบบ
 

福(Fú) / 禄(Lù) / 寿(Shòu) “  “ฝู  ลู่ โซ่ว“ คือ มงคล 3 ประการที่ชาวจีนมักจะอวยพรให้แก่กัน โดยมีความหมายไล่เรียงตามลำดับคือ  ความมั่งคั่ง / ความเจริญรุ่งเรือง / ความยั่งยืน

福(Fú) “  ฝู คือ ความมั่งคั่ง สมบูรณ์ ความสุข และโชคลาภ (Wealth)  ถูกกำหนดให้เป็นคุณลักษณะของสวนหลักด้านหน้าโครงการและสโมสร ที่สื่อถึงพื้นที่แบ่งปัน ความมั่งคั่ง ความสมบูรณ์และโชคลาภให้แก่ ผู้อยู่อาศัยในโครงการ

“ 禄(Lù)  ลู่ คือ ความเจริญรุ่งเรือง และความก้าวหน้า (Prosperity) ถูกกำหนดให้เป็นคุณลักษณะของสวนรอง ด้านในสุดที่เป็นกลุ่มของผู้อยู่อาศัยที่เป็นกลุ่ม คนรุ่นใหม่ที่กำลังสร้างครอบครัว และมองถึงความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง

“ 寿(Shòu)โซ่ว คือความยั่งยืนและมีชีวิตยืนยาว (Longevity) ถูกกำหนดให้เป็นคุณลักษณะของสวนรองลำดับที่2 ที่เป็นกลุ่มของผู้อยู่อาศัยครอบครัวใหญ่ที่มีพ่อแม่ หรือผู้สูงอายุ ที่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ

ภาพที่ 7 การตีความและถอดแบบออกมาตามรูปแบบการใช้งานของพื้นที่(Space)และการเข้าถึงทางสัญจร (Circulation)
 

การนำเอาสัญลักษณ์ในภาษาจีน ทั้ง 3 มาตีความและถอดแบบออกมาตามรูปแบบการใช้งานของพื้นที่(Space)และการเข้าถึงทางสัญจร(Circulation) ตามรูปแบบที่ต่างกันออกไป (ภาพที่ 7)

福(Fú) “  ฝู  จะเป็นการแบ่งพื้นที่(Space) แบบสมมาตร และสมดุล และทางสัญจร (Circulation) ที่เป็นแกนตัดกันในทางแนวตั้งและแนวนอน

“ 禄(Lù)  ลู่  จะเป็นการแบ่งพื้นที่(Space) เป็นลำดับ เป็นระเบียบ และทางสัญจร(Circulation) ที่แบ่งแยกเป็นแถวตามระเบียบ

“ 寿(Shòu)โซ่ว จะเป็นการแบ่งพื้นที่ (Space) และทางสัญจร(Circulation) เหมือนต้นไม้ที่แตกกิ่งก้าน มีทางสัญจรหลักและแยกย่อยออกไปหาพื้นที่การใช้งาน
2.4 การพัฒนาแบบร่าง
2.5 การประยุกต์ใช้แนวความคิดในการออกแบบส่วนต่างๆ ของโครงการ

3. ข้อมูลผลงานการออกแบบ งานสร้างสรรค์ และกระบวนการออกแบบ

3.1 ผลงานการออกแบบ กระบวนการออกแบบ

การพัฒนาแบบจากแนวความคิดหลักมาสู่การออกแบบในพื้นที่เป้าหมาย

สวนหลักด้านหน้าโครงการเป็นพื้นที่แรกที่ถูกนำมาพัฒนาในการออกแบบ โดยจากการวางรูปแบบอาคารของตัวซุ้มประตูทางเข้า(Gate Entrance) และอาคารสโมสร(Clubhouse) ที่ทางโครงการและสถาปนิก ได้นำแนวความคิดของ เรือนสี่ประสาน (Shi He Yuan) มาใช้  งานภูมิสถาปัตยกรรม จึงได้ประยุกต์แนวความคิดของเรือนสี่ประสาน ที่คำนึงถึง การใช้งาน(Function),ลำดับ(Sequence),ความเป็นส่วนตัวและโอบล้อม(Privacy & Enclosed),แกน(Axis),สมมาตรและสมดุล (Symmetrical Balance) มาผนวกกับแนวความคิดที่วางไว้ให้สวนหลักในพื้นที่นี้เป็น สวนที่สื่อถึง ความมั่งคั่ง สมบูรณ์ ความสุข (Wealth Garden)  จากการแบ่งพื้นที่(Space) และ ทางสัญจร(Circulation) วางซ้อนกันเป็นไดอะแกรม เพื่อสร้างกรอบในการออกแบบ (Design Framework)  มาสร้างพื้นที่สีเขียวที่เน้นสำหรับการทำกิจกรรมร่วมกันและการพักผ่อนของผู้อยู่อาศัยในโครงการ

ภาพที่ 8 เลเยอร์ของการวางผังภูมิทัศน์

การวางรูปแบบอาคาร มีการปรับจากรูปแบบเรือนสี่ประสาน โดยตัวซุ้มประตูโครงการ (Main Gate)และอาคารสโมสร(Club House) ที่เปรียบถึงโถงกลาง (Main Hall) ถูกขยับมาวางไว้ด้านหน้า และออกแบบให้ผสานให้ส่วนหนึ่งของกำแพงรั้วโครงการ โดยยกโถงลอยให้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนสมัยใหม่ (Modern Chinese)   เพื่อสร้างอัตลักษณ์และดึงดูดความสนใจจากมุมมองภายนอกโครงการ

ภาพที่ 9 เปรียบเทียบรูปแบบในการประยุกต์การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมจากแนวความคิดหลักของเรือนสี่ประสาน
 
เมื่อผ่านซุ้มประตูโครงการ (ภาพที่ 10) มีการวางรูปแบบสวนที่เป็นเหมือนส่วนต้อนรับ
(Front Court)
ตามแบบเรือนสี่ประสาน โดยจะเป็นพื้นที่คอร์ทน้ำพุที่ล้อมรอบด้วยแปลงไม้พุ่มตัดแต่ง และถูกกดพื้นให้ต่ำลงเป็นขั้นบันได เพื่อให้สามารถใช้เป็นที่นั่งพักคอย โดยมีกลุ่มต้นสนฉัตรที่ทำหน้าโอบล้อมพื้นที่ และ ทำหน้าที่เป็นกรอบทางสายตา
(Frame View)
 
 
ภาพที่ 10 สวนที่เป็นเหมือนส่วนต้อนรับ (Front Court) ตามแบบเรือนสี่ประสาน
 
ในส่วนของพื้นที่ คอร์ทภายใน (Main Court) ถูกออกแบบให้เป็นสนามหญ้าเปิดโล่งสำหรับทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันของผู้พักอาศัย ที่รายล้อมไปด้วยพื้นที่ใช้งาน(Functions) ที่เปรียบเสมือน Sub-room ในรูปแบบของเรือนสี่ประสาน เช่น ลานหมากล้อม ศาลาชมวิว ลานอาบแดด สนามเด็กเล่น เป็นต้น
 

ภาพที่ 11 คอร์ทภายในถูกออกแบบให้เป็นสนามหญ้าเปิดโล่ง

ลานหมากล้อม ( “ 圍棋 wéiqí “ ) , ลานโกะ เป็น เกมส์หมากกระดานประจำชาติจีน ซึ่งนำมาประยุกต์ให้เป็นพื้นที่ Function การใช้งานเป็นที่นั่งที่เคลื่อนย้ายได้ (Removeable Seats) และ เป็นรูปแบบของงานศิลปะ (Sculptural Art) ที่ช่วยเพิ่มบรรยากาศของวัฒนธรรมจีน (Chinese Culture) ในสวนด้วย

ภาพที่ 12 ลานหมากล้อม

ศาลา 3 สามช่วงอายุ (Multi-Gen Pavilions) (ภาพที่ 13) ถูกออกแบบตามวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก เช่น จีน หรือ ญี่ปุ่น ที่มักจะสร้างศาลาไว้ออกมานั่งดื่มชาและชมวิวในสวน (Tea House ) ซึ่งในโครงการนี้ได้ออกแบบให้เป็นกลุ่มจำนวน3 หลัง ที่ผู้อยู่อาศัยในทุกช่วงอายุได้ใช้ร่วมกัน ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ โดยแต่ละหลังจะมีการออกแบบพื้นที่นั่งภายในและรูปแบบการใช้งานรวมถึงการเข้าถึงที่แตกต่างกันไปตามช่วงอายุ  รูปแบบหน้าตาของศาลา จะล้อไปกับตัวรูปแบบอาคารสโมสร(Club House) เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

ภาพที่ 13 ศาลา 3 สามช่วงอายุ

 

ลานอาบแดด  (Sun-bath Terrace) (ภาพที่ 14) ถูกวางไว้ให้อยู่ในตำแหน่งที่เป็น จุดที่เปิดมุมมองเห็นวิวสวนทั้งหมด อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงาแต่ไม่ทึบมาก และอยู่ใกล้สนามเด็กเล่น เพื่อให้เป็นที่นั่งพักผ่อนของ ผู้ใหญ่ที่พาลูกหลานมาสนามเด็กเล่นได้นั่งดูแลได้ไกล้ชิด 

ภาพที่ 14 ลานอาบแดด

สนามเด็กเล่น (Astronomy Kid’s Play) (ภาพที่ 15) เนื่องจากความเชื่อและวัฒนธรรมจีนสมัยก่อนจะมีความเกี่ยวข้องกับ การดูพระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ จึงนำแนว ความคิดดังกล่าวมาประยุกต์กับวิทยาศาตร์ ดาราศาตร์ให้ออกมาเป็น สนามเด็กเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็ก (Education Playground)  ในเรื่องของวงโคจรของระบบสุริยะจักรวาล หรือแผง Puzzle จำลองภาพ พระอาทิตย์ พระจันทร์ และดวงดาว ที่เด็กหรือผู้ใหญ่ ก็สามารถมาหมุนต่อภาพช่วยกันได้ ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้อยู่อาศัยร่วมกัน

ภาพที่ 15 สนามเด็กเล่น

ในส่วนของอาคารสโมสร (ภาพที่ 16) ออกแบบโดย Warchitect ทางสถาปนิกผู้ออกแบบได้ออกแบบพื้นที่ให้เป็นคอร์ท สระว่ายน้ำด้านล่าง ซึ่งถูกล้อมรอบไปด้วยแผงระแนงพรางสายตา  สร้างพื้นที่โอบล้อมที่ให้ความเป็นส่วนตัวแต่ก็ยังเชื่อมต่อกับพื้นที่สีเขียวหลักภายในโครงการทางมุมมองสายตาได้ (Visual Link)  และยกตัวพื้นที่ออกกำลังกาย (Fitness Room) ไปไว้อยู่บนชั้น 2 เพื่อให้ได้มุมมองย้อนกลับมาเห็นพื้นที่สวนสีเขียวด้านล่าง

ภาพที่ 16 อาคารสโมสร

3.2 แบบเพื่อประกอบการพิจารณา เช่น ผังบริเวณ ผังพื้น รูปตัด รูปด้าน ทัศนียภาพ แบบนำเสนอ ฯลฯ

4. ข้อมูลหลังการออกแบบ การอภิปรายผล หรือ การวิจารณ์และสรุป หรือ ข้อเสนอแนะ

4.1 ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกแบบ
4.2 สรุปผลการออกแบบ การต่อยอดประยุกต์ในอนาคต
4.3 ปัญหาข้อจำกัด และแนวทางแก้ไข

บรรณานุกรม

กิติกรรมประกาศ



<< ดูทั้งหมด >>