AFTER THE FIRST DECADE
AFTER THE FIRST DECADE


27 มิ.ย. 2564 | 59,371
ปรับขนาดตัวอักษร
 
+
/
-
  
1




ผู้ออกแบบ :
ผู้เขียน : วิภาวี เกื้อศิริกุล


บทคัดย่อภาษาไทย


Abstract


บทนำภาษาไทย


บทนำภาษาอังกฤษ


1. ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ

โครงการ

ประเภทโครงการ
สถาปนิก/นักออกแบบ

ส่วนงานที่ผู้เสนอแบบรับผิดชอบ/สัดส่วน
เจ้าของโครงการ
วิศวกร/ที่ปรึกษาโครงการ
ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
ผู้ก่อสร้าง/ผู้รับเหมาก่อสร้าง
งบประมาณการก่อสร้าง
ระยะเวลาในการก่อสร้าง
วันที่โครงการแล้วเสร็จ

2. ข้อมูลการออกแบบโครงการ

2.1 ที่มาความสำคัญของโครงการ

ภาพที่ 1: โปสเตอร์การบรรยายออนไลน์ “Department of ARCHITECTURE: After the First Decade” ที่มา: Shanghai International College of Fashion and Innovation, 2020

Department of ARCHITECTURE บริษัทออกแบบแนวหน้าของประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547 โดยสองสถาปนิก อมตะ หลูไพบูลย์ และทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ผลงานการออกแบบของ Department of ARCHITECTURE มีหลากหลายโครงการ ทั้งโรงแรม รีสอร์ท บ้านพักอาศัย ห้องสมุด และ ออฟฟิศ ที่แตกต่างกันทั้งในแง่ของขนาด ที่ตั้ง และแนวความคิด ซึ่งโครงการทั้งหลายตั้งอยู่ในประเทศและต่าง ประเทศ ทุกผลงานล้วนได้รับการยืนยันคุณภาพจากรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลสถาปัตยกรรมที่สมควร เผยแพร่ สำหรับผลงาน Sala Phuket Resort ในปี พ.ศ. 2551 ผลงาน The Flow ในปี พ.ศ. 2559 และรางวัลผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่น สำหรับผลงาน Sun One Office ในปี พ.ศ. 2553 ผลงาน The Commons ในปี พ.ศ. 2559 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมถึงได้รับการเสนอชื่อ
 
และกวาดรางวัลจากต่างประเทศมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผลงาน Hilton Pattaya–Lobby and Bar ที่ ได้รางวัล Best of Year ในหมวดเลาจ์และบาร์ ผลงาน Thailand Creative and Design Center (TCDC) ในหมวดห้องสมุด งานโรงแรม Little Shelter ในหมวด Building Facade ในปี พ.ศ. 2554, 2560 และ 2562 ตามลำดับ และในปีเดียวกัน ผลงานออกแบบห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ก็คว้ารางวัลชนะเลิศ จาก Interior Design Magazine ที่นิวยอร์ค เช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้นผล งาน The Flow และ The Commons ก็ได้รับรางวัลจาก Architects Regional Council Asia (ARCA- SIA) ในปี พ.ศ. 2559 และ 2561 ตามลำดับ เป็นต้น
ผลงานและรางวัลต่างๆ ที่ Department of ARCHITECTURE ได้รับนั้นเป็นบทพิสูจน์ชัดเจนว่างาน ออกแบบของสถาปนิกไทยนั้นเป็นที่ยอมรับในเวทีระดับโลก ซึ่งแนวทางการออกแบบของ Department of ARCHITECTURE ได้ให้ความสำคัญกับบริบทของแต่ละโครงการที่มีความแตกต่างกัน คุณอมตะ หนึ่งใน สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Department of ARCHITECTURE ได้กล่าวไว้ว่า “การออกแบบแต่ละโครงการสำหรับ เขานั้นเหมือนการเขียนหนังสือแต่ละเล่มที่มีเนื้อหาต่างกัน อยู่ที่ว่าผู้เขียนจะลำดับเรื่องราวให้ผู้อ่านเข้าถึง เนื้อเรื่องนั้นๆ ได้อย่างไร เช่นเดียวกับสถาปนิกที่สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมแต่ละชิ้นขึ้นมา ด้วยบริบทที่ แตกต่าง เรื่องราวของงานสถาปัตยกรรมที่ออกแบบขึ้นมาก็จะต่างไป” บทความนี้จะยกตัวอย่างผลงานการ ออกแบบของ Department of ARCHITECTURE อันได้แก่ The Flow, Little Shelter, The Mist Hot Spring และ The Commons Thonglor เพื่อวิเคราะห์ถึงแนวความคิดในการออกแบบแต่ละโครงการ
ของ Department of ARCHITECTURE ในทศวรรษที่ผ่านมา

2.2 การวิเคราะห์ปัญหา วิธีการออกแบบ หรือ กระบวนการออกแบบ และข้อจำกัดในการออกแบบ
2.3 แนวความคิดในการออกแบบ

ภาพที่ 2: The Flow ออกแบบโดย Department of ARCHITECTURE ที่มา: www.wisont.wordpress.com

The Flow : ศาลาเอนกประสงค์ริมหาดบางแสน

ศาลาเอนกประสงค์โครงสร้างเหล็กที่มีหลังคากรองแสงสองชั้น ตั้งอยู่กลางลานคอนกรีตริมหาดบางแสน เอื้อให้ผู้คนสามารถเข้ามาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ โดยสังเกตจากพฤติกรรมกิจกรรมของคนในพื้นที่โดยรอบ เช่น การมาเตะฟุตบอล นั่งเล่น พบปะเพื่อนฝูง ทำการบ้าน เล่นหมากรุก หรือ นั่งชมพระอาทิตย์ตกดิน รูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความหลากหลายของกิจกรรมของผู้คนที่เข้า มาใช้งานในพื้นที่ แผ่นพื้นมีขนาดและความลาดเอียงสอดคล้องกับกิจกรรมที่เกิดขึ้น ถูกออกแบบให้เป็น ระดับของโต๊ะ เก้าอี้ เป็นที่นั่งพักชมวิว หรือดูฟุตบอล ขณะที่การออกแบบหลังคาได้รับแรงบัลดาลใจจาก ร่มเงาของต้นมะพร้าวที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง โดยให้แสงผ่านเข้ามาได้บางส่วนและบางส่วนก็ให้ร่มเงาใน บริเวณที่นั่งพัก ในขณะเดียวกันรูปแบบหลังคาสองชั้นนั้นสามารถกรองแสงและช่วยระบายความร้อนได้ ดีอีกด้วย การออกแบบ The Flow เป็นการตอบโจทย์ที่จะให้งานออกแบบสร้างพื้นที่สำหรับนักท่องเที่ยว และผู้คนที่มาหาดบางแสนได้อย่างเหมาะสม ศาลาที่มาตั้งในพื้นที่เดิมที่มีอยู่นั้นได้สร้างความเปลี่ยนแปลง การใช้งานของผู้คนได้อย่างลงตัว ทั้งนี้เพราะผู้ออกแบบได้สังเกตการเคลื่อนไหวของผู้คนในพื้นที่รวมไปถึง ลักษณะกายภาพของบริบทโดยรอบเพื่อให้ The Flow นั้นลื่นไหลผสานเข้าไปกับพื้นที่ได้อย่างแท้จริง

ภาพที่ 3: Little Shelter ออกแบบโดย Department of ARCHITECTURE ท่ีมา: www.wisont.wordpress.com

Little Shelter: โรงแรมเล็กๆ ในเชียงใหม่ริมน้ำแม่ปิง

การออกแบบ Little Shelter ได้ใช้องค์ประกอบของวัสดุพ้ืนถ่ินหลังคาไม้ชิงเกิ้ลรูฟ (Wood Shingles Roof) ในรูปแบบท่ีต่างไปในแต่ละส่วนของโรงแรม แพทเทริ์นของไม้ชิงเกิ้ลรูฟถูกนำมาใช้ส่วนผนังให้ กับด้านหน้าอาคารโดยด้านบนเป็นวัสดุไม้แบบดั้งเดิม ส่วนด้านล่างใช้วัสดุโพลีคาร์บอเนตขุ่น (Polycar-bonate) ที่มีขนาดและแพทเทริ์นเดียวกัน วัสดุสองชนิดได้ผสานลวดลายเข้าด้วยกันเกิดเป็นพื้นผิวอาคาร ที่ผสมความเป็นท้องถิ่น (Tradition) และความสมัยใหม่ (Modern) เข้าด้วยกันอย่างลงตัว โดยวัสดุโพลี คาร์บอเนตขุ่นนั้นนอกจากจะเป็นองค์ประกอบที่ทำให้อาคารดูทันสมัยแล้ว ยังเป็นวัสดุที่ทำให้แสงธรรมชาติ เข้าสู่อาคาร ทำให้ทางเข้าและโถงทางเดินสว่างตลอดทั้งวัน จังหวะของไม้ชิงเกิ้ลรูฟนอกจากเกิดขึ้นใน บริเวณภายนอกอาคารแล้ว ในส่วนผนังหัวเตียงของห้องพักก็ใช้แพทเทริ์นเดียวกับภายนอกแต่เปลี่ยนวัสดุ เป็นกระจกเงาแทน ซึ่งมีส่วนช่วยให้ภายในห้องพักดูกว้างขึ้นอีกด้วย การเลือกใช้วัสดุที่ต่างกันทั้งภายนอก และภายในแต่ยังคงไว้ซึ่งองค์รวม (Unity) นั้น ถือเป็นการสร้างเอกลักษณ์ของอาคารที่นอกจากจะสร้าง ความกลมกลืนระหว่างวัสดุพื้นถิ่นและวัสดุอุตสาหกรรม การนำแสงธรรมชาติเข้ามาในอาคารและกลายมา เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างบรรยากาศที่เปลี่ยนไปตามเวลานั้น ความระยิบระยับจากแสงท่ีมากระทบวัสดุ นั้นสามารถสร้างความรื่นรมย์ให้กับผู้เข้าพักในอาคาร Little Shelter แห่งนี้ได้มากทีเดียว

ภาพท่ี 4: The Mist ออกแบบโดย Department of ARCHITECTURE ท่ีมา: www.wisont.wordpress.com

The Mist Hot Spring Hotel: โรงแรมน้ำพุร้อน เมืองสวี่ชาง (Xuchang) มณฑลเหอหนาน (He- nan) ประเทศจีน

การออกแบบโรงแรม The Mist Hot Spring คุณอมตะได้ย้อนกลับไปเมื่อครั้งได้มีโอกาสสำรวจพื้นท่ี ของโรงแรมนี้เป็นครั้งแรก เมืองสวี่ชางนั้นอยู่กลางมณฑลเหอหนาน ซึ่งตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศ

จีน ลักษณะภูมิอากาศน้ันจึงไม่ร้อนมากในฤดูร้อน และไม่หนาวจัดในฤดูหนาว แต่ที่มณฑลเหอหนาน นี้มีชื่อเสียงเรื่องน้ำพุร้อนธรรมชาติเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยที่ต้ังของโรงแรมนั้นอยู่ไกลจากตัว เมืองเป็นท่ีเวิ้งว้าง ไม่มีต้นไม้ ทะเลสาบ หรือทัศนียภาพใดๆ มีเพียงภาพความว่างเปล่าและวันที่ไปดูพื้นท่ีนั้น อากาศไม่สดใสจึงเห็นสีของท้องฟ้าเป็นสีเทา เลยเกิดคำถามขึ้นมาว่าจะทำอย่างไรที่จะสามารถสร้าง สีสันให้กับพื้นที่โรงแรมและผู้มาพักได้ จึงเป็นที่มาของแนวความคิดการย้อมสีฟิลม์ในภาพยนตร์สมัยก่อน (Hand-colored Film) การเพิ่มชั้นของสีลงบนฟิล์มสีขาวดำถูกนำมาใช้ในการออกแบบ คือการเพิ่มเลเยอร์ (Layer) ให้กระจกสีบนรูปด้านอาคาร (Facade) โดยที่มุมมองของผู้ใช้อาคารจากภายในเมื่อมองสู่ ภายนอกนั้นจะเห็นท้องฟ้าถูกย้อมเป็นสีต่างๆ ตามกระจกสี ส่วนมุมมองภายในห้องพัก งานตกแต่งภายใน ที่ออกแบบให้เป็นสีขาว-เทา-ดำจะถูกแต่งแต้มสีสันจากการสาดของแสงที่กระทบกับกระจกของอาคาร แตก ต่างกันไปในแต่ละเวลาและสีของแสงที่ฉาบเข้ามากระทบกับพื้นที่ภายในสร้างบรรยากาศใหม่ให้กับอาคาร ผลงานนี้นั้นเป็นตัวอย่างในการสร้างเรื่องราวให้กับบริบทพื้นที่ที่ไม่มีความน่าสนใจให้กลายมาเป็นลูกเล่น ของอาคารแล้วนั้น ยังได้ใช้ภาษาของสถาปัตยกรรมบนรูปด้านอาคารสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ใช้ อาคารที่จะแปรผันไปตามแต่ละเวลาเช่นเดียวกันกับงาน Little Sheter แต่ต่างกันในบริบทที่มา และวัสดุที่ สถาปนิกเลือกใช้ในการออกแบบ

ภาพที่ 5 : The Commons Thonglor ออกแบบโดย Department of ARCHITECTURE ที่มา: www.wisont.wordpress.com

 The Commons Thonglor: คอมมูนิตี้มอลล์ใจกลางทองหล่อ
ย่านทองหล่อในกรุงเทพฯ นั้นถือเป็นย่านท่ีได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับนักท่องเท่ียวชาวต่างประเทศ เป็นย่านท่ีมีทั้งร้านอาหาร ผับ บาร์ ท่ีอยู่อาศัย และอาคารสำนักงาน เรียกได้ว่ามีความหลากหลายของ ผู้คนและการใช้งานในอาคารต่างๆ การออกแบบคอมมูนิตี้มอลล์โดยท่ัวไปมักจะเน้นให้มีพื้นที่เช่าให้ได้มาก ท่ีสุด แต่สำหรับโครงการ The Commons มีแนวความคิดที่ต่างไป เนื่องจากความหนาแน่นของอาคาร ต่างๆ ในซอย ทางสถาปนิกได้ร่วมกับเจ้าของโครงการหาจุดกึ่งกลางที่จะทำให้ลงตัวทั้งในแง่งานออกแบบ
 
และแง่ธุรกิจ รวมไปถึงช่วยค้นหาแนวทางธุรกิจ (Business Model) แบบใหม่ ซึ่งปกติร้านอาหารทั่วไป จำเป็นต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับครัว และที่นั่งจำนวนมากสำหรับทานอาหาร การลงทุน ตกแต่ง ร้านมีราคาค่อนข้างสูง โครงการนี้จึงปรับเปลี่ยนการจัดสรรพื้นที่เช่าให้มีขนาดเพียงพอสำหรับครัวและที่นั่ง บางส่วน ที่นั่งส่วนใหญ่ของแต่ละร้านนำไปรวมกันเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่ลูกค้าสามารถใช้ร่วมกันได้ ทำให้ เกิดข้อดีกับทุกฝ่าย สำหรับผู้เช่าคือจ่ายค่าเช่าเท่าเดิมแต่ลงทุนน้อยลง เจ้าของโครงการก็ได้ค่าเช่าเท่า เดิม สำหรับผู้ใช้อาคาร ได้การทานอาหารที่เหมือนเดิม แต่ได้พื้นที่ส่วนกลางที่มากขึ้น ดังนั้นเมื่อเข้ามาถึง อาคารจะมีพื้นที่ส่วนกลางของอาคารเสมือนพื้นที่สาธารณะ ต่อเนื่องจากชั้น 1 ไปจนถึงชั้น 4 และทำให้ คนที่เข้าถึงอาคารสามารถมองเห็นกิจกรรมได้ทั่วถึงทุกชั้น แนวคิดเหล่านี้ทำให้ The Commons มีการ ออกแบบที่แตกต่างจากคอมมูนิตี้มอล์อื่น กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับย่าน สำหรับเมือง และกลาย เป็นสถานที่ยอดนิยมและเป็นจุดท่องเที่ยวแห่งใหม่ให้กับกรุงเทพฯ ซึ่งส่งผลให้เจ้าของโครงการอื่นๆ เริ่มหา จุดกึ่งกลางระหว่างการออกแบบและธุรกิจที่สามารถกลายมาเป็นเอกลักษณ์ให้กับอาคารบ้างเช่นกัน

จากตัวอย่างทั้งสี่โครงการที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น The Flow, Little Shelter, The Mist Hot Spring และ The Commons Thonglor นอกจากความหลากหลายที่สถาปนิกได้นำเสนอในการเลือกใช้วัสดุสำหรับ อาคารแล้ว การคำนึงถึงบริบทและประสบการณ์ของผู้ใช้อาคารที่สถาปนิกกำหนดขึ้นมานั้นได้สร้าง เอกลักษณ์และลักษณะพิเศษให้เกิดขึ้นต่างไปในแต่ละอาคาร ถ้าจะเปรียบการออกแบบเป็นหนังสือตามที่ คุณอมตะกล่าวนั้น หนังสือที่ Department of ARCHITECTURE เขียนขึ้น แม้หน้าปกจะต่างไป แต่หลัก การหรือแก่นของการออกแบบนั้นสามารถเชื่อมโยงถึงกัน “Department of ARCHITECTURE : After the First Decade” แสดงให้เห็นถึงผลงานการออกแบบที่ผ่านประสบการณ์กว่าทศวรรษของอมตะ หลู ไพบูลย์ และทวิตีย์ วัชราภัย เทพาคำ ทศวรรษใหม่ที่ Department of ARCHITECTURE กำลังจะก้าว ต่อไปนั้นอาจจะพบความหลากหลายที่มากขึ้นจากโจทย์ที่ต่างไป แต่เชื่อแน่ว่าความตั้งใจและความคิด สร้างสรรค์ของผู้ออกแบบนั้นจะทำให้พวกเขาสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ให้ได้เห็นต่อไปอีกหลายทศวรรษ

2.4 การพัฒนาแบบร่าง
2.5 การประยุกต์ใช้แนวความคิดในการออกแบบส่วนต่างๆ ของโครงการ

3. ข้อมูลผลงานการออกแบบ งานสร้างสรรค์ และกระบวนการออกแบบ

3.1 ผลงานการออกแบบ กระบวนการออกแบบ
3.2 แบบเพื่อประกอบการพิจารณา เช่น ผังบริเวณ ผังพื้น รูปตัด รูปด้าน ทัศนียภาพ แบบนำเสนอ ฯลฯ

4. ข้อมูลหลังการออกแบบ การอภิปรายผล หรือ การวิจารณ์และสรุป หรือ ข้อเสนอแนะ

4.1 ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกแบบ
4.2 สรุปผลการออกแบบ การต่อยอดประยุกต์ในอนาคต
4.3 ปัญหาข้อจำกัด และแนวทางแก้ไข

บรรณานุกรม

Shanghai International College of Fashion and Innovation. (2020). Department of ARCHITECTURE: After the First Dec- ade [Online lecture]. Retrieved from http://scf.dhu.edu.cn/b0/96/c17478a241814/page.htm


กิติกรรมประกาศ

การบรรยายออนไลน์ โดย คุณอมตะ หลูไพบูลย์ “Department of ARCHITECTURE : After the First Decade” เป็นการหยิบผลงานในช่วงทศวรรษที่สองของการออกแบบ ซึ่งเป็นหนึ่งใน International Lec- ture Series ที่จัดขึ้นโดย Shanghai International College of Fashion and Innovation (SCF) และ Edinburgh College of Art (ECA) โดยมีคุณกุลธิดา ทรงกิตติภักดี และคุณเจอร์รี่ Jen-Chieh Hung เป็นผู้ดำเนินรายการของการบรรยายครั้งนี้ และผู้ร่วมฟังส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและคณาจารย์จาก SCF ในประเทศจีน และ ECA ในสหราชอาณาจักรรวมถึงผู้ฟังบางส่วนจากประเทศไทย




<< ดูทั้งหมด >>