หลังจากที่ Choui Fong Tea Cafe เปิดตัวในปี 2015 ไร่ชาแห่งนี้ก็ได้ รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก และกลายเป็นหนึ่งใน tourist destination ของจังหวัดเชียงราย อาคารเดิมจึงไม่สามารถรองรับนักท่องเที่ยว ได้เพียงพอโครงการ Choui Fong Tea Café 2 จึงเกิดขึ้นเพื่อใช้เป็นพื้นที่ส่วนต่อ ขยายสําหรับรองรับนักท่องเที่ยวให้ได้มากขึ้น
ในPhase 2 นี้ จัดให้มีพื้นที่ส่วนคาเฟที่ใหญ่ขึ้นซึ่งสามารถรองรับได้ มากถึง 250 ที่นั่ง รวมไปถึงพื้นที่ขายของที่ระลึกที่มีขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ยัง เพิ่มเติมในส่วน exhibition ที่เล่าประวัติความเป็นมาของไร่ชาฉุยฟงและสาธิตวิธี - การชงชาอีกด้วย แต่เหนือสิ่งอื่นใด ความต้องการสําคัญของเฟสนี้คือ ต้องออก แบบโดยคํานึงถึงผู้ใช้ทุกเพศทุกวัย (Universal design) เนื่องด้วยหลังจากที่เฟส 1
เปิดทําการ ทําให้ทราบว่า นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมเป็นครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ อยู่เป็นจํานวนมาก ซึ่งใช้รถเข็นเป็นหลักจึงต้องออกแบบให้เอื้อต่อการใช้งานของ ลูกค้ากลุ่มนี้ด้วย
ที่ตั้งของเฟส 2 อยู่ที่เนินเขาถัดไปจากเฟส 1 โดยเนินเขานี้เป็นที่ตั้งของ โรงงานหลักและร้านขายของดั้งเดิม ต่อมาเมื่อต้องการสร้างเฟส 2 จึงมีการรื้อถอน ร้านนี้ ออกและสร้างใหม่ถัดจากโรงงานเพื่อหันหน้าออกรับวิวไร่ชา อาคารในเฟส 2 จึงมีลักษณะเป็นผืนสี่เหลี่ยมวางอยู่บนเนินเขาติดกับโรงงานขนาดใหญ่ที่กิน พื้นที่กว้างอยู่แล้ว ทําให้ไม่จําเป็นต้องกดอาคารลงไปในเนินดินเพื่อเปิดพื้นที่ และมุมมองรับวิวบนยอดเนินเหมือนเฟส 1
จุดมุ่งหมายของการมาเยี่ยมชมที่นี่คือการรับวิวและใกล้ชิดกับธรรม ชาติ ให้ได้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็ต้องอํานวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานรถเข็น ได้ ดังนั้นการออกแบบในหลายๆจุดจึงต้องตอบโจทย์กับทั้งสองประเด็นนี้ให้ได้ มากทสุด ดังนั้นเพื่อการเปิดรับวิวที่มากที่สุดระดับพื้นของอาคารจึงค่อยๆลด ระดับลง ตามสโลปของเนินเขาจากด้านในถึงด้านริมนอกของอาคารเพื่อโต๊ะที่ อยู่ริมนอก ไม่เบียดบังวิวโต๊ะที่อยู่ด้านในทําให้ทุกโต๊ะสามารถรับวิวได้อย่าง ชัดเจน นอกจากนี้เพื่อให้โต๊ะที่อยู่ริมอาคารใช้งานได้ดี จึงออกแบบปีกด้านบน เพื่อเป็นชายคากันแดด-ฝนที่จะสาดมายัง บริเวณขอบอาคารในขณะเดียวกัน ปีกด้านล่างถูกออกแบบเป็นทางลาดเชื่อมพื้นที่ในทุกๆ ระดับเพื่อให้ผู้ใช้งานรถ เข็นสามารถเข้าถึงทุกส่วนได้
เนื่องจากเจ้าของโครงการต้องการให้เป็นอาคารชั้นเดียว ประกอบกับ พื้นที่ใช้สอยที่มีขนาดใหญ่ส่งผลให้ footprint อาคารมีขนาดค่อนข้างใหญ่ทํา ให้พื้นที่กลางอาคารค่อนข้างมืด จึงต้องมีการเจาะช่องแสงบนหลังคาเพื่อนํา แสงสว่างเข้ามาสู่พื้นที่บริเวณกลาง อาคารอันเป็นส่วนร้านขายของส่วนที่นั่งทาน อาหารและคอร์ทต้นไม้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ต้องการให้ฝนตกลงมาในอาคาร เพื่อสะดวกต่อการใช้พื้นที่และง่ายต่อการดูแลรักษา skylight จึงถูกนํามาใช้ แต่ แทนที่จะใช้กระจกคลุมช่องแสงทั้งหมดซึ่งจะเป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อน ข้างสูงผู้ออก แบบจึงยก skylight ให้สูงขึ้นโดยหลังคาและฝ้าถูกเอียงสอบเข้าทุกด้านเพื่อทําให้ ช่องแสงมีขนาดเล็กลง โดย skylight ในแต่ละจุดมีลักษณะการเอียงที่ไม่เท่ากัน เพื่อสร้างแคแรคเตอร์ที่ล้อ เลียนไปกับภูเขาโดยรอบ ซึ่งเป็นบริบทของที่ตั้งโครง การฝ้าเอียงนี้จะช่วยกระจายแสงจาก skylight ให้สว่างสู่ด้านล่างเพียงพอ อีกทั้งยัง เกิดแสงเงาที่ไม่เท่ากันในแต่ละจุดและยังเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาใน แต่ละช่วงวัน นอกจากนี้วิธีนี้ยังเป็นการเพิ่มปริมาตรที่ว่างและเพิ่มความสูง สําหรับปลูกต้นไม้ในคอร์ทได้อีกด้วย
ในส่วนทางเข้าหลักของอาคารออกแบบให้เป็นกําแพงหินยาวปิด ตลอดแนวด้านหน้า เหลือเปิดไว้เพียงช่องทางเข้าซึ่งเปรียบเสมือนปากอุโมงค์ ที่มีลมพัดผ่านมาต้อนรับผู้ที่จะเข้ามาในอาคารบริเวณทางเข้าค่อนข้างมืดและ จะค่อยๆ สว่างขึ้นเมื่อเดินเข้าไปจนสุดทางซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนนั่งทานอาคารที่ค่อยๆ ลดระดับพื้นเพื่อเปิดมุมมอง รับวิวตามที่ได้กล่าวข้างต้น โดยมีวิวทิวเขาและ เนินชาเป็นฉากด้านหลังที่สวยงาม
วัสดุในเฟสนี้ ยังคงอิงกับเฟส 1 ซึ่งใช้วัสดุจริงจากธรรมชาติ เช่น ไม้สน เหล็ก กระจก โดยเพิ่มผนังหินภูเขาเข้ามา ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อสะท้อนแนวความคิด เรื่องความออร์แกนิคของไร่ชาฉุยฟงแห่งนี้