“Green O’Clock” การออกแบบวางผังสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อม
“Green O’Clock” Architectural and Environmental Design


27 มิ.ย. 2564 | 79,841
ปรับขนาดตัวอักษร
 
+
/
-
  
4




ผู้ออกแบบ : วิทยา ดวงธิมา
ผู้เขียน : วิทยา ดวงธิมา


บทคัดย่อภาษาไทย

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เป็นพื้นที่เชิงทดลองในการสร้างปฎิสัมพันธ์ของกลุ่มคนและสภาพแวดล้อม 2) เพื่อเป็นพื้นที่ที่มีการออกแบบที่เชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบของย่านวัดเกต 3) เพื่อออกแบบวางผังสถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อมใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเดิม โดยที่ตั้งของโครงการนั้นอยู่ในย่านชุมชนที่มีความ หลากหลายทางวัฒนธรรมและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการออกแบบวางผังเชิงทดลอง แต่กลับถูกละทิ้งไม่ได้ นํามาใช้ประโยชน์ จากการศึกษาพบว่ากระบวนการออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมนั้นเป็นอีก กระบวนการหนึ่งที่มีความสําคัญในการสร้างสภาพแวดล้อมผ่านกระบวนการออกแบบเพื่อนําไปสู่การออกแบบ สถาปัตยกรรม การวางผัง ภายใต้ข้อกําหนดทางกฏหมายและความต้องการของเจ้าของโครงการ ตลอดจนการ เลือกใช้วัสดุ และการสร้างพื้นที่ปฎิสัมพันธ์ของกลุ่มคนและสภาพแวดล้อมร่วมกันที่อยู่บนพื้นฐานของการเคารพต่อ บริบทของพื้นที่เดิม เพื่อนําไปสู่การออกแบบวางผังสถาปัตยกรรม และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้กับผู้ใช้อาคาร



Abstract

This article aims to: 1) be an experimental area for creating interaction among people and the environment 2) to be an area that has a design that is linked to the surrounding context of Wat Ket district and 3) to design a new architectural and environmental planning to be consistent with the original environment. The location of the project is in a multi-cultural community area and is in an environment that encourages experimental layout design but has been abandoned.

From the study, it was found that the process of architectural design and environment is another process that is important in creating the environment through the design process leading to the design of architecture, planning under legal requirements and requirements of the project owner. As well as the selection of materials and the creation of the interaction area of people and the common environment that is based on respect for the context of the original area to lead to the design of architectural layout and creating an environment that is conducive to building users.



บทนำภาษาไทย


บทนำภาษาอังกฤษ


1. ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ

โครงการ
Green O’Clock
ประเภทโครงการ อาคารพักอาศัยและอาคารพาณิชยกรรม
สถาปนิก/นักออกแบบ
นายวิทยา ดวงธิมา วิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ สภาพแวดล้อม การเข้าถึง การออกแบบวางผัง สถาปัตยกรรม ออกแบบสถาปัตยกรรม งานระบบ ของบ้านพักอาศัย ร้านกาแฟ เกสต์เฮาส์ และเขียนแบบก่อสร้าง อาคาร
ส่วนงานที่ผู้เสนอแบบรับผิดชอบ/สัดส่วน ร้อยละ 100
เจ้าของโครงการ
คุณธิดารัตน์ ชลประเสริฐสุข และคุณณัฐธิณี ชลประเสริฐสุข (เดิม) คุณชาญชัย เชี่ยววานิช (ปัจจุบัน)
วิศวกร/ที่ปรึกษาโครงการ
นายพิษณุ บํารุง ภย.XXXXX
ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
นายวิทยา ดวงธิมา
ผู้ก่อสร้าง/ผู้รับเหมาก่อสร้าง
นายสําราญ เก๋อภัย
งบประมาณการก่อสร้าง
1.87 ล้านบาท
ระยะเวลาในการก่อสร้าง
1 เมษายน พ.ศ. 2551
วันที่โครงการแล้วเสร็จ
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

2. ข้อมูลการออกแบบโครงการ

2.1 ที่มาความสำคัญของโครงการ

การตั้งถิ่นฐานที่ยั่งยืนและการวางแผนเพื่อพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนจะส่งเสริมการมีสุขภาวะที่ดีของมนุษย์ใน เมืองด้วย การวางแผนเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยนื นนั้ ครอบคลุมมิติที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในทุกมิติทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การสร้างความเข้าใจเชิงพื้นที่ เป็นปัจจัยสําคัญสําหรับการสร้างความเข้าใจ เบื้องต้นหรือเสนอแนะแนวทางเพื่อการพัฒนาพื้นที่นั้นๆ (ปรานอม และวิทยา, 2556, หน้า 1)

ปัญหาของการพัฒนาที่ขาดความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต สภาพแวดล้อมนั้นส่งผลถึงการออกแบบสถาปัตยกรรม การออกแบบเพื่อความยั่งยืน การออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม การสร้างความเข้าใจเชิงพื้นนั้นมี ความสําคัญเป็นอย่างมากต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม (Vale, B., 1991)

อย่างไรก็ตามการพัฒนาด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมเพื่อให้รู้เท่าทันโลกาภิวัฒน์ ต้อง คํานึงถึงแนวคิดการออกแบบเพื่อความยั่งยืนในศตวรรษที่ 21 ศาสตร์ทางด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบ สภาพแวดล้อมถือว่ามีบทบาทที่สําคัญมากในการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมของตนเองไว้ โดยเฉพาะในย่านพื้นที่ที่มี คุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและงานศิลปะที่แสดงตัวตนของพื้นที่ย่านวัดเกตที่ชัดเจน แต่ด้วยอิทธิพลของกลุ่มทุนจากทั่วโลกทําให้การออกแบบต่างๆ เริ่มขาดทิศทางที่เชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อม บทความ นี้จึงต้องการค้นหาแนวทางการออกแบบทางด้านสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมแบบองค์รวมเพื่อพิจารณาการ ออกแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาวิชาชีพภายใต้แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของโครงการ:

1. เพื่อเป็นพื้นที่เชิงทดลองในการสร้างปฎิสัมพันธ์ของกลุ่มคนและสภาพแวดล้อม
2. เพื่อเป็นพื้นที่ที่มีการออกแบบที่เชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบของย่านวัดเกต
3. เพื่อออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเดิม 

แผนที่ตั้งของโครงการ

การเลือกที่ตั้งของโครงการนับว่าเป็นอีกกระบวนการที่มีความสําคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากกิจกรรมที่ เกิดขึ้นของสถาปัตยกรรมนับว่าเป็นกิจกรรมที่รองรับทั้งกลุ่มคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในจังหวัด เชียงใหม่ และย่านที่มีความสําคัญหลักๆ ได้แก่ย่านวัดเกต เนื่องจากย่านวัดเกตเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากย่านเมืองเก่า และตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ําปิง เป็นย่านค้าขายเดิมตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน มีกลุ่มคนที่หลากหลายเชื้อ ชาติที่เข้ามาอยู่อาศัย และยังคงไว้ซึ่งสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในพื้นที่ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน และที่สําคัญย่านวัด เกตได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทชุมชนในปี พ.ศ. 2548 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระ บรมราชูปถัมภ์ ทําให้พื้นที่ย่านมีความสําคัญทางด้านคุณค่าทางสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม การเลือกที่ตั้งและ การวิเคราะห์ที่ตั้งบริบทพื้นที่และสภาพแวดล้อมจึงมีความสําคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้นการเลือกที่ตั้งจึงมีความสําคัญ เป็นอย่างมาก โดยการเลือกที่ตั้งในการออกแบบมีอยู่ 2 รูปแบบดังนี้

1) กําหนดโดยที่ตั้ง (Design by Site) คือ การออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีที่ตั้งแล้ว แล้วทําการวิเคราะห์ว่า จะออกแบบอาคารหรือกิจกรรมประเภทใด

2) กําหนดโดยโปรแกรม (Design by Program) คือ การออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความต้องการในการจะ ทํากิจกรรมหรือประเภทอาคารนั้นๆ และทําการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่มีศักยภาพในการหาที่ตั้ง

รูปที่1แสดงรูปมุมสงูย่านชุมชนวัดเกต ที่มา: ชมรมรม่ บินเชียงใหม่ (2553)

รูปที่ 2 แสดงแผนที่เชียงใหม่ปี 2553 ที่มา: CHAO, Japanese New paper (2553)

รูปที่ 3 แสดงแผนที่ของโครงการ
ที่มา: ดัดแปลงจาก CHAO, Japanese New paper (2553)

รูปที่ 4 แสดงที่ตั้งของโครงการ ที่มา: ณัฐธิณี ชลประเสริฐสุข (2551)

 

2.2 การวิเคราะห์ปัญหา วิธีการออกแบบ หรือ กระบวนการออกแบบ และข้อจำกัดในการออกแบบ

กระบวนการดําเนินการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมนั้นเริ่มจากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ของโครงการ ความสัมพันธ์ และความเชื่อมโยงของมิติต่างๆ ทั้ง 4 ประเด็นร่วมกันทั้ง สถาปัตยกรรม กิจกรรม สภาพแวดล้อม และพื้นที่ว่าง เพื่อหาความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงในการออกแบบสถาปัตยกรรมและ สภาพแวดล้อมของโครงการดังกล่าว

2.3 แนวความคิดในการออกแบบ

แนวความคิดในการออกแบบ : การออกแบบสถาปัตยกรรมที่เคารพบริบทเดิมของพื้นที่ย่านวัดเกตตลอดจน ความสัมพันธ์ของกายภาพ วิถีชีวิต และสภาพแวดล้อม โดยเน้นการเลือกใช้วัสดุธรรมชาติในงานสถาปัตยกรรม และ พื้นที่ ตลอดจนวัสดุที่ใช้ในกิจการของร้าน Green O' Clock

รูปที่ 5 แสดงความสัมพันธ์และความเชื่อมโยงขององค์ประกอบ ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2551)

2.4 การพัฒนาแบบร่าง
2.5 การประยุกต์ใช้แนวความคิดในการออกแบบส่วนต่างๆ ของโครงการ

สภาพแวดล้อมเดิมที่มีอยู่ : การออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมของพื้นที่โครงการนั้นเริ่มต้นจาก การสํารวจสภาพแวดล้อมเดิมที่มีอยู่ของพื้นที่ตั้งแต่บริบทของพื้นที่ การถึงของโครงการตําแหน่ง ระยะ ขนาดของ พื้นที่ รวมไปถึงตําแหน่ง ระยะ ขนาด และทรงพุ่มเดิมของต้นไม้เดิมทั้งหมดเพื่อทํากําหนดตําแหน่งของพื้นที่ที่ควรเก็บ รักษาไว้ และพื้นที่ที่สามารถทําการออกแบบสถาปัตยกรรม และวางผังได้

การออกแบบสภาพแวดล้อมใหม่ : ของพื้นที่โครงการนั้นเป็นเตรียมต้นไม้ที่เพาะเพื่อนํามาปลูกเพิ่มเติมใน พื้นที่โครงการ และต้นไม้ที่ได้จากภาคีเครือข่ายในการทํางาน

การเลือกใช้วัสดุในการออกแบบสถาปัตยกรรมนั้น ได้เลือกใช้วัสดุของไม้เก่า มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ อาคารในส่วนต่างๆ รวมไปถึงไม้ปลีกที่เหลือใช้ในการนํามาใช้ในการทําผนังภายนอกอาคารในส่วนของห้องน้ําและ พื้นที่ของเกสต์เฮาส์ และการออกแบบโดยใช้ขนาดของวัสดุมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบระยะและพื้นที่ของอาคาร

รูปที่ 7 แสดงการออกแบบสภาพแวดล้อมใหม่ ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2551)


3. ข้อมูลผลงานการออกแบบ งานสร้างสรรค์ และกระบวนการออกแบบ

3.1 ผลงานการออกแบบ กระบวนการออกแบบ

การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainable design) หรือการออกแบบที่เป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อม (Green design, Eco-design หรือ Design for the environment) กระแสหลักของการออกแบบยุค ใหม่ที่กําลังได้รับความสนใจในวงการสถาปัตยกรรม การออกแบบภูมิทัศน์ การออกแบบและวางผังเมือง วิศวกรรม การออกแบบกราฟฟิก การออกแบบอุตสาหกรรม การออกแบบภายใน หรือแม้แต่การออกแบบแฟชั่น รวมถึงการ บริการที่สอดคล้องกับกฎทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนการดํารงชีวิตอย่างยั่งยืน

การออกแบบอย่างยั่งยืนให้ความสําคัญกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ให้น้อยที่สุด ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทําได้ ทั้งยังพยายามเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสิ่งแวดล้อมตาม ธรรมชาติให้มากที่สุด โดยมุ่งสร้างวิถีการดํารงชีวิตที่ยั่งยืน และช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกด้าน ต่างๆ อาทิ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจํานวนประชากรที่เป็นผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างมหาศาล การเสีย ภาวะสมดุลทางสิ่งแวดล้อม และการขาดความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้นการออกแบบที่ยั่งยืนจึงนับเป็นวิธีการใน การคงคุณภาพชีวิตอันสมบูรณ์ ด้วยวิธีการออกแบบอันชาญฉลาดเพื่อทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อมดังเช่นในอดีต อาจพูดได้ว่า การออกแบบอย่างยั่งยืนนี้ไม่ได้เป็นเพียงส่วนเสริมของการออกแบบ สถาปัตยกรรม แต่กลายเป็นกระบวนการสําคัญของศาสตร์และศิลป์แห่งการออกแบบเกือบทุกแขนงไปเป็นที่ เรียบร้อย

“Green”, “Ecology”, and “Sustainable” ถูกใช้โดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ต่อมาเมื่อสถาปัตยกรรมได้ ให้ความสนใจในความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คําเหล่านี้จึงถูกนํามารวมกับสถาปัตยกรรม โดยให้ความหมายที่ สื่อถึงงานสถาปัตยกรรมที่คํานึงถึงระบบนิเวศน์ สิ่งแวดล้อมและเป็นสถาปัตยกรรมที่มีออกแบบโดยคํานึงถึงความ ยั่งยืนของธรรมชาติ สถาปัตยกรรมในแนวความคิดนี้มีเป้าหมายในการออกแบบที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ที่สุดและสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ มีผลดีต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย ความหมายเชิงลึกของคําเหล่านี้เกี่ยวพันไปถึง เรื่องที่สถาปนิกจะทําได้เพื่อการรักษาเยียวยา รวมไปถึงการขยาย สืบต่อ หรือทําให้โลกสามารถรองรับความ เปลี่ยนแปลงและคงอยู่เพื่อมนุษยชาติในรุ่นต่อๆ ไปผลงานการออกแบบ

การพัฒนากระบวนการออกแบบในการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมนั้นได้มุ่งเน้นการ วิเคราะห์ข้อมูลทางด้านกายภาพ ครอบคลุมไปถึงการเข้า ลักษณะที่ตั้ง สภาพแวดล้อมเดิม ตําแหน่งต้นไม้ สิ่งปลูก สร้าง ความสัมพันธ์กับบริบทของพื้นที่ และอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของผู้ใช้ (USER) ทั้งในส่วนของ ร้านกาแฟและเบเกอรี่ บ้านพักอาศัย เกสต์เฮาส์ พื้นที่สอนศิลปะ และความต้องการอื่นๆ เพื่อนํามาวิเคราะห์

รูปที่8แสดงผังที่ตงั้ของโครงการ ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2552)

รูปที่ 9 แสดงการแบ่งเขต (Zoning) ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2552)

 

3.2 แบบเพื่อประกอบการพิจารณา เช่น ผังบริเวณ ผังพื้น รูปตัด รูปด้าน ทัศนียภาพ แบบนำเสนอ ฯลฯ

ความสัมพันธ์ของแนวความคิดในการออกแบบของกิจกรรม พื้นที่ว่าง สถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อม ผ่านกระบวนการการวิเคราะห์การออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมของโครงการเพื่อให้เห็นความสําคัญในการออกแบบ วางผังสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมแบบองค์รวม (รูปที่ 10)

รูปที่ 10 แสดงความสัมพันธข์ องแนวความคิดในการออกแบบของกิจกรรม พื้นที่ว่าง สถาปตั ยกรรม และ สภาพแวดล้อม ผ่านกระบวนการออกแบบวางผังสถาปัตยกรรม

ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2552)

 

ข้อมูลหลังการออกแบบ การอภิปรายผล หรือ การวิจารณ์และสรุป หรือ ข้อเสนอแนะ

ผลการออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมของโครงการ Green O’Clock เป็นพื้นที่เชิง ทดลองในการสร้างปฎิสัมพันธ์ของกลุ่มคนและสภาพแวดล้อม ในการใช้พื้นที่กิจกรรมร่วมกันของกลุ่มคนที่ หลากหลาย และยังวิเคราะห์ถึงประเด็นการออกแบบที่เชื่อมโยงกับบริบทโดยรอบของย่านวัดเกตที่มีความ หลากหลายของวัฒนธรรม และมีสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าและเอกลักษณ์ของพื้นที่ ตลอดจนการนําผลการวิเคราะห์ มาสู่กระบวนการเพื่อออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเดิม โดย ที่ตั้งของโครงการนั้นถูกละทิ้งไม่ได้นํามาใช้ประโยชน์ แต่สภาพแวล้อมเดิมเอื้อให้เกิดการออกแบบวางผังเชิงทดลอง กระบวนการออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมนั้นเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่มีความสําคัญในการสร้าง สภาพแวดล้อมผ่านกระบวนการออกแบบเพื่อนําไปสู่การออกแบบสถาปัตยกรรม การวางผัง ภายใต้ข้อจํากัดที่มีใน เรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดินจํานวน 3 แปลง และแปลงไหนสามารถนํามาออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อนําไปสู่ขั้นตอนการ ขออนุญาตก่อสร้างอาคารได้ และบางแปลงไม่สามารถทําก่อสร้างได้แต่สามารถใช้เป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์หรือพื้นที่ กิจกรรมของโครงการได้ ตลอดจนการศึกษาข้อกําหนดทางกฏหมาย การเลือกใช้วัสดุ และการสร้างพื้นที่ปฎิสัมพันธ์ ของกลุ่มคนและสภาพแวดล้อมร่วมกันที่อยู่บนพื้นฐานของการเคารพต่อบริบทของพื้นที่เดิม เพื่อนําไปสู่การออกแบบวางผังสถาปัตยกรรม และการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้กับผู้ใช้อาคาร

รูปที่ 11 แสดงภาพบรรยากาศของร้าน GREEN O’CLOCK และความสัมพนั ธ์กับสภาพแวดล้อม ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2552)

รูปที่ 12 แสดงพนื้ ที่เอนกประสงค์ในการจัดกิจกรรม ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2552)


4. ข้อมูลหลังการออกแบบ การอภิปรายผล หรือ การวิจารณ์และสรุป หรือ ข้อเสนอแนะ

4.1 ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกแบบ

การออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมที่จะนําผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้แก่ การ ออกแบบที่เคารพกับสภาพแวดล้อมเดิม การเลือกใช้วัสดุที่เหลือใช้มาใช้ในการออกแบบโดยการคํานึงถึงมิติ และขนาดของวัสดุในแต่ละชนิดที่นํามาใช้ในการออกแบบ และให้เหลือเศษของวัสดุที่น้อยที่สุด ซึ่งเป็น แนวทางสําหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม ตลอดจนการทําวิจัยต่อไปใน

รูปที่ 13 แสดงความสัมพันธ์ของกิจกรรม พื้นที่ว่าง สถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อม ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2553)

4.2 สรุปผลการออกแบบ การต่อยอดประยุกต์ในอนาคต

รูปที่ 14 แสดงความสัมพันธข์ องกิจกรรม พื้นที่ว่าง สถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อม ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2553)

รูปที่ 15 แสดงความสัมพันธ์ของกิจกรรม พื้นที่ว่าง สถาปัตยกรรม และสภาพแวดล้อม ที่มา: วิทยา ดวงธิมา (2553)

4.3 ปัญหาข้อจำกัด และแนวทางแก้ไข

กระบวนการออกแบบวางผังสถาปตัยกรรมและสภาพแวดล้อมนั้นเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่มีความสําคัญใน การสร้างสภาพแวดล้อมผ่านกระบวนการออกแบบเพื่อนําไปสู่การออกแบบสถาปตั ยกรรม การวางผัง ภายใต้ข้อจํากัด ที่มีในเรื่องของกรรมสิทธิ์ที่ดินจํานวน 3 แปลง และแปลงไหนสามารถนํามาออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อนําไปสู่ ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างอาคารได้ และบางแปลงไม่สามารถทําก่อสร้างได้แต่สามารถใช้เป็นพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ หรือพื้นที่กิจกรรมของโครงการเพื่อเป็นการประยุกต์ใช้พื้นที่ให้เหมาะสมและเอื้อให้เกิดกิจกรรม และสภาพแวดล้อมที่ ดีของโครงการ


บรรณานุกรม

ปรานอม ตันสุขานันท์ และวิทยา ดวงธิมา (2556) แนวทางการพัฒนาความเป็นย่านหลากมิติของเมืองเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ปรานอม ตันสุขานันท์ และวิทยา ดวงธิมา (2560) ความรู้สึกเป็นสถานที่ของชุมชนละแวกบ้านในเขต

เมืองประวัติศาสตร์เชียงใหม่. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 16, 85-107.

วิทยา ดวงธิมา และปรานอม ตันสุขานันท์ (2561) แนวทางการพัฒนาละแวกบ้านและย่านในเมือง เชียงใหม่. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 27, 134-151.

Amos Rapoport (1994). Spatial Organization and the Built Environment, in An Companion Encyclopedia of Anthropology: Humanity, Culture and Social life. Edited by Tim Ingold (New York: Routledge, pp. 460-502 and Haryadi, Conservation of Cultural Settings: The Case of Yogyakarta.

Vale, B. (1991). Green Architecture: Design for a Sustainable Future. Thames & Hudson: UK.76 p.

USNPS. (1993). Guiding Principles of Sustainable Design. Denver service, Washington DC. 117 p.


กิติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณคุณธิดารัตน์ ชลประเสริฐสุข และคุณณัฐธิณี ชลประเสริฐสุข ที่ให้โอกาสในการเสนอแนวความคิดการ พัฒนาการออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม ของโครงการฯ คุณวิไล เชี่ยววานิช คุณชาญชัย เชี่ยววานิช (เจ้าของที่ดิน) ที่ให้โอกาสในการใช้พื้นที่ในการทดลองแนวคิดในการออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ตลอดจนกลุ่มรักษ์บ้าน รักษ์เมือง ชาวบ้านย่านวัดเกต และภาคีเครือข่ายที่ให้ข้อมูลสนับสนุนในการออกแบบเชิงทดลองทาง ความคิดที่นํามาสู่ออกแบบวางผังสถาปัตยกรรมที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม


Keywords : การออกแบบวางผังสถาปัตยกรรม สภาพแวดล้อม การออกแบบที่ยั่งยืน พื้นที่ปฏิสัมพันธ์ ย่านวัดเกต ARCHITECTURAL LAYOUT DESIGN ENVIRONMENT SUSTAINABLE DESIGN INTERACTION AREA WAT KET DISTRICT



<< ดูทั้งหมด >>