โครงการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม
The Landscape Improvement Project, Suan Sunandha Rajabhat University Nakhon Pathom Provincial Education Center.


22 ต.ค. 2565 | 43,281
ปรับขนาดตัวอักษร
 
+
/
-
  
0




ผู้ออกแบบ : มนัส ศิริเวช และ ศมลวรรณ วรกาญจน์
ผู้เขียน : ศมลวรรณ วรกาญจน์


บทคัดย่อภาษาไทย


Abstract


บทนำภาษาไทย


บทนำภาษาอังกฤษ


1. ข้อมูลเบื้องต้นของโครงการ

โครงการ
โครงการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษา จังหวัดนครปฐม
ประเภทโครงการ
สถาปนิก/นักออกแบบ
มนัส ศิริเวช และ ศมลวรรณ วรกาญจน์
ส่วนงานที่ผู้เสนอแบบรับผิดชอบ/สัดส่วน วิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ สภาพแวดล้อม การออกแบบวางผัง การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม งานระบบ และเขียนแบบก่อสร้างงานภูมิสถาปัตยกรรม
เจ้าของโครงการ
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
วิศวกร/ที่ปรึกษาโครงการ
ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง
ผู้ก่อสร้าง/ผู้รับเหมาก่อสร้าง
งบประมาณการก่อสร้าง
7 ล้านบาท
ระยะเวลาในการก่อสร้าง
วันที่โครงการแล้วเสร็จ
ปี 2020

2. ข้อมูลการออกแบบโครงการ

2.1 ที่มาความสำคัญของโครงการ

การออกแบบวางผังภูมิสถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม (Landscape Architecture) เป็นวิชาชีพในด้านการออกแบบและวางแผนกายภาพสาขาหนึ่งเช่นเดียว กับสถาปัตยกรรมและการผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรมเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการนำเอา ปัจจัยทางศิลปะ ธรรมชาติ วิศวกรรม และสังคมวิทยาเข้ามาแก้ปัญหา เกี่ยวกับการจัดผืนแผ่นดินและที่ว่าง (Space) เพื่อความปลอดภัย ความผาสุก และสวัสดิภาพของมนุษย์ โดยยึดหลักการพิทักษ์ผืนแผ่นดิน” (เดชา บุญค้ำ, 2525.)

ในโครงการออกแบบปรับปรุงภูมิทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็น วิทยาเขตที่ก่อตั้งใหม่ ดังนั้นภายในพื้นที่จึงมีเพียงอาคารเรียนและสิ่งก่อสร้างต่างๆ พื้นที่จึงขาดสภาพแวดล้อม และ บรรยากาศที่เหมาะกับการเรียนการสอน ทางศูนย์การศึกษาฯ เล็งเห็นว่าการเพิ่มสภาพแวดล้อมและพื้นที่สีเขียวใน โครงการมีความสำคัญกับการเรียนการสอน จึงมีแนวคิดในการวางพื้นที่สีเขียวให้ครอบคลุมทั่วทั้งโครงการเชื่อมต่อกัน เป็นระบบ และศูนย์การศึกษาฯได้เล็งเห็นประโยชน์ของการปรับปรุงภูมิทัศน์ เป็นอีกปัจจัยสำคัญในการดึงดูดนักศึกษา เข้ามามหาวิทยาลัยแห่งนี้ (กลยุทธ์ด้านการตลาด) อีกทั้งจำนวนนักศึกษาส่วนใหญ่จะถูกโยกย้ายมาจาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาแห่งแรก มายังมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐมแห่งนี้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อรองรับการใช้งานโดยเริ่มต้นจากทางเข้า สวนต้อนรับ (เนินพระนางฯ) สวนส่วนกลาง สวนระหว่างอาคาร แกนทางเดิน และพื้นที่อื่นๆ

นอกจากการปรับปรุงภูมิทัศน์แล้ว ทางผู้บริหารต้องการให้คงความเป็นเอกลักษณ์ของสวนสุนันทาฯ โดยการสร้างสวนเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ฯ (เนินพระนาง) โดยใช้การจำลองรูปแบบ แท่นพระบรมราชานุสาวรีย์ฯจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาฯ แห่งแรก มายังมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดนครปฐมแห่งนี้ เพื่อเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ กราบไหว้สักการะ สร้างความภาคภูมิใจ เป็นศิริมงคลแก่มห าวิท ยาลัยและนักศึกษ า อีกทั้ง เพื่อเป็น การรื้อฟื้น ภ าพ จำแล ะความรู้สึกสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณฯ ตลอดจนประวัติความเป็นมาในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาฯ เพิ่มอีกด้วย

2.2 การวิเคราะห์ปัญหา วิธีการออกแบบ หรือ กระบวนการออกแบบ และข้อจำกัดในการออกแบบ

การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม มีเริ่มต้นจากการขั้นตอนแรก การสืบค้นข้อมูล (Research) เพื่อศึกษาข้อมูลให้ เข้าใจปัจจัยต่างๆ ขั้นตอนที่ 2 คือการวิเคราะห์พื้นที่โครงการ (Site Analysis) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้าน ต่างๆได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งในโครงการจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาปัจจัยทางวัฒนธรรม (Cultural Factor) เพื่อให้เกิดความเข้าใจและลดปัญหาความขัดแย้งเชิงสังคม ซึ่งปัจจัยนี้มีทั้งที่เป็นรูปธรรมที่จับต้องได้และนามธรรม หรือ กฎเกณฑ์บางอย่างที่ไม่สามารถจับต้องได้แต่มีผลกระทบต่อการวางผังบริเวณ หรือการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ขั้นตอนสุดท้ายของชุดข้อมูลก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการออกแบบแนวความคิด คือ การสังเคราะห์ข้อมูลของพื้นที่โครงการ (Site Synthesis) เพื่อถ่ายทอดความซับซ้อนของความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ นอกจากนี้ยังศึกษาปัจจัยทางผู้ใช้งานและกิจกรรม ที่จะจัดให้มีขึ้นในโครงการ และควรให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาและการออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม อย่างมากมาย ตลอดจนการศึกษาแนวโน้มงานภูมิสถาปัตยกรรม ในปี 2022 สามารถใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้งาน ออกแบบสามารถแก้ปัญหาทางมลภาวะของโลกได้มากขึ้น นำมาใช้วิเคราะห์โอกาสและการเปลี่ยนแปลง สำหรับการพัฒนาแผนแม่บทในงานออกแบบทางภูมิสถาปัตยกรรม (Damian Holmes, 2022.) ได้แก่

1.เพิ่มคุณค่าให้กับพื้นที่ภายนอกอาคารขนาดเล็กให้มากขึ้น พื้นที่ภายนอกอาคารขนาดเล็กประเภทพื้นที่ ออกกำลังกาย พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่พบปะ และรับประทานอาหาร ที่อยู่บริเวณโดยรอบพื้นที่ชุมชนมีบทบาท และความสำคัญในการจัดกิจกรรมมากขึ้นกว่าพื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ ภูมิสถาปนิกจะต้องวางแผนในการออกแบบ พื้นที่โล่งเพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย จะต้องใช้งานได้อเนกประสงค์ในงบประมาณที่เท่าเดิม

2.เน้นการบำรุงรักษาภูมิทัศน์ การจัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงดูแลภูมิทัศน์ รวมถึงการมุ่งลดการปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น หาวิธีออกแบบพื้นที่สนามให้มีการตัดหญ้าน้อยลง การจัดการระบบชลประทาน และ การควบคุมศัตรูพืชด้วยวิธีชีวภาพ

3.การปรับปรุงสวนภายในพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนหรือการทำงานให้เหมือนกับว่า ไม่ได้ทำงานอยู่ที่บ้าน

4.การอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิทัศน์เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและลดการบุกรุกของวัชพืช การจัดการวัชพืชเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดวิกฤติการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งภูมิสถาปนิกจะต้องมี ความเข้าใจว่าวัชพืชชนิดใดที่รุกรานและเป็นพิษ เนื่องจากวัชพืชเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

5.มีความต้องการภูมิสถาปนิกเพิ่มมากขึ้น จนอาจจะทำให้เกิดการขาดแคลนจำนวนภูมิสถาปนิกมีจำนวน ลดลงอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากจำนวนนิสิต นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาลดน้องลง เนื่องจากปัจจัยโรคระบาด โอกาสทางเลือกอื่นๆ ในการเลี้ยงชีพมีความหลากหลายมากขึ้น หากแต่ในระยะหลังนี้ผู้คนหันกลับมาสนใจและให้ ความสำคัญกับครอบครัวและชุน ซึ่งทำให้นักออกแบบจะต้องเรียนรู้และหาแรงบันดาลใจจากท้องถิ่น เพื่อให้งาน ออกแบบเกิดความเฉพาะตัวมากขึ้น

ภาพที่ 1 : สภาพพื้นที่ก่อนการพัฒนา
ที่มา : การสำรวจพื้นที่

2.3 แนวความคิดในการออกแบบ
  1. การวางผัง :
    1.1 จัดวางผังเพื่อเป็นสวนต้อนรับที่มีความสวยงาม สร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็น ให้แก่มหาวิทยาลัย เชื่อมต่อจากทางเข้ามาสู่พื้นที่ภายในอาคารเรียนด้านใน (สวนเชื่อมต่อ)
    1.2 คำนึงถึงมุมมองจากคนที่เข้ามาสู่มหาวิทยาลัยและคนที่สัญจรเข้าสู่มหาวิทยาลัย จึงทำให้สวนมี องค์ประกอบและฉากหันหน้าไปทั้ง 2 ด้าน
  2. ส่งเสริมเอกลักษณ์ : โดยการจัดสร้างงานภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อประดิษฐานอนุสาวรีย์ขององค์พระ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ให้สมพระเกียรติมากที่สุด มีความสวยงามเกิดเอกลักษณ์ที่ โดดเด่นให้กับมหาวิทยาลัย สร้างความภาคภูมิใจและเป็นที่จดจำของผู้พบเห็น (New Landmark) คำนึงถึง ภูมิศาสตร์และหลักฮวงจุ้ยในการจัดวางตำแหน่งแท่นพระนางฯให้เกิดความเป็นศิริมงคลเหมาะแก่การสักการะบูชา กราบไหว้
  3. การเสริมสร้างบรรยากาศ : โดยการออกแบบพื้นที่ต้อนรับในการเข้าสู่พื้นที่ (เสริมภาพลักษณ์) พื้นที่สวนเพื่อสร้างบรรยากาศน่าอยู่อาศัยให้แก่มหาวิทยาลัย (Living Ambience) โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อให้ร่มเงา รวมทั้งจัดองค์ประกอบสวนให้เกิดความสัมพันธ์กัน
  4. เพิ่มเติมพื้นที่ใช้สอย : โดยการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยภายนอกให้สอดคล้องกับผู้ใช้สอยในกลุ่มต่างๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย (Functional Providing) อาทิ ลานจารึกประวัติมหาวิทยาลัยฯ แหล่งเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยแรกเริ่มจนสู่วิทยาเขตนครปฐม สวนพักผ่อนหย่อนใจและทำกิจกรรมของ เหล่านักศึกษา ทางเดินในสวน ลานกิจกรรม ที่นั่งอ่านหนังสือ การศึกษาต้นไม้ แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ ฯลฯ

ภาพที่ 2 : แผนภาพแสดงแนวความคิดการออกแบบวางผังการใช้งาน (Functional Diagram)

2.4 การพัฒนาแบบร่าง
2.5 การประยุกต์ใช้แนวความคิดในการออกแบบส่วนต่างๆ ของโครงการ

จากการศึกษา สำรวจ และวิเคราะห์พื้นที่ สามารถสรุปศักยภาพของพื้นที่ (Site Potential) ได้ว่า เป็น พื้นที่โล่งว่างขนาดใหญ่อยู่ใจกลางของพื้นที่ จึงสามารถรองรับกิจกรรมได้อย่างหลากหลาย มองเห็นและเข้าถึงได้ ง่ายจากทางเข้าของโครงการ สภาพดินเป็นดินเลน ระบายน้ำเลว ประกอบกับมีถนนโดยรอบพื้นที่ มีความต่าง ระดับของพื้นที่โดยรอบ 1.2 เมตร โดยเฉลี่ย (พื้นที่โครงการต่ำกว่าระดับถนน) จึงมีศักยภาพในการสร้างพื้นที่กัก เก็บน้ำเพื่อใช้ในงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ และด้วยความแตกต่างกันของระดับในพื้นที่ นับเป็นศักยภาพที่ดีในการ ออกแบบการใช้สอยพื้นที่ที่มีผลต่อมุมมอง


3. ข้อมูลผลงานการออกแบบ งานสร้างสรรค์ และกระบวนการออกแบบ

3.1 ผลงานการออกแบบ กระบวนการออกแบบ

โครงสร้างภูมิทัศน์ (Landscape Structure) คือ องค์ประกอบทางกายภาพที่เกิดจากสภาพแวดล้อมและปัจจัย ที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ระบบนิเวศมีความแตกต่างกัน ตลอดจนบทบาทหน้าที่ภูมิทัศน์ (Landscape Function) เพื่อทราบถึงพื้นที่ ที่เอื้อก่อเกิดประโยชน์ทางบริการ ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้กับผู้ที่เข้ามาใช้งานในพื้นที่

แนวทางการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ทางผู้ออกแบบได้นำเอาเอกลักษณ์ และวัสดุของลักษณะ สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในพื้นที่ ที่มีแนวคิด การออกแบบสถาปัตยกรรมวังสมัยใหม่ (Modern Palace Architecture Style) นำมาลดทอนเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ทั้งงานภูมิทัศน์ดาดแข็ง (Hardscape) อาทิ การลดทอน ลักษณะภายนอกของอาคาร (Facade) มาออกแบบเป็นป้ายทางเข้า (Signage) ป้อมยาม (Guardhouse) ขอบกระบะต้นไม้ (Planter) แนวทางเดิน (Walkway) และองค์ประกอบอื่น ๆ การเลือกใช้กระเบื้องดินเผา แกรนิตแดง ตลอดจนขนาดของวัสดุที่นำมาใช้ในการจัดวางองค์ประกอบ ฯลฯ ในด้านของภูมิทัศน์ดาดอ่อน (Softscape) จะเน้น การเลือกต้นไม้ที่เจริญ เติบโตและทนได้ดีในพื้นที่ มีดูแลรักษางานภูมิทัศน์น้อย วารสารงานออกแบบ งานสร้างสรรค์ : สภาสถาปนิก นอกจากนี้จะมีต้นแก้วเจ้าจอม (Guaiacum officinale L.) ซึ่ง “ดอกแก้วเจ้าจอม” นี้คือดอกไม้ สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย เป็นองค์ประกอบหลักในพื้นที่ที่มีความสำคัญอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้งานภูมิ สถาปัตยกรรมและงานสถาปัตยกรรมเป็นอันนึงอันเดียวและส่งเสริมซึ่งกันและกัน


ภาพที่ 12 : ลักษณะภายนอกของงานสถาปัตยกรรม สู่การออกแบบแนวความคิด ผ่านการลดทอนรูปทรง แต่ยังคงประเภทของวัสดุ สี ขนาด เพื่อให้งานภูมิสถาปัตยกรรมและงานสถาปัตยกรรมส่งเสริม ซึ่งกันและเป็นอันนึงอันเดียว
ที่มา : จากการออกแบบและสื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม

อีกทั้ง ด้วยพื้นที่เป็นประดิษฐานอนุสาวรีย์ขององค์พระสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราช เทวี จำเป็นต้องส่งเสริมเอกลักษณ์โดดเด่นให้กับมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและเป็นที่จดจำของผู้พบ เห็น ตลอดจนการวางตำแหน่งที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ขององค์พระสมเด็จพระนางเจ้าฯจัดวางให้หันพระพักตร์ไป ทางด้านทิศตะวันออก แล้วใช้พื้นที่สีเขียวที่มีความหลากหลาย (Lush Planting) เป็นฉากหลังเพื่อส่งเสริมความงาน ให้กับพื้นที่โดยรอบ


ภาพที่ 13 : ภาพรวมการพัฒนาจากแบบร่างแนวความคิด จนถึงขั้นพัฒนาแบบ ภาพหลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้น และภาพกิจกรรมในพื้นที่
ที่มา : จากการออกแบบและสื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตนครปฐม

อีกทั้งจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์พื้นที่โครงการที่มีศักยภาพในการสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำ (Retention Pond) เพื่อใช้ในงานดูแลรักษางานภูมิทัศน์ (Landscape Maintenance) โดยมีพื้นที่ภูมิทัศน์ดาดอ่อน (Softscape) กว่า 70% ของพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งบ่อกักเก็บน้ำนี้ใช้การขุดดินขึ้นมาถม (Cut and Fill) เพื่อปรับลักษณะ ผิวดินหรือธรณีสัณฐาน (Landforms) ให้สูงขึ้น

บ่อน้ำที่ขุดมีความลึก 4-6 เมตร จึงส่งผลให้มีน้ำตลอดทั้งปี พื้นที่โครงการมีพื้นที่รับน้ำจากการไหลบ่าของ น้ำผิวดิน (Surface Water Runoff) เพิ่มขึ้น ซึ่งบ่อน้ำจะสามารถรองรับการหลากของน้ำท่วมในโครงการได้เป็น อย่างดี โดยการใช้แนวคิดขุดและงานถม ทำให้โครงการได้ทั้งเนินดิน ได้ทั้งบ่อเก็บน้ำ โดยไม่ใช้งบประมาณในการซื้อ ดินที่มาถมเพิ่มเติม นับเป็นความประหยัดให้กับโครงการอีกทางนึง


ภาพที่ 14 : แสดงแนวความคิดในการออกแบบวางผังการใช้งานในโครงการ (Functional Diagram)


ภาพที่ 15 : การก่อสร้างงานระบบการก่อสร้างน้ำพุและระบบภูมิทัศน์ดาดแข็ง (Fountain Construction System and Hardscape)


ภาพที่ 16 : การก่อสร้างงานระบบภูมิทัศน์ดาดอ่อน (Softscape)


ภาพที่ 17 : บ่อกักเก็บน้ำบริเวณด้านหน้าของอนุสาวรีย์ขององค์พระสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี


ภาพที่ 18 : สถานที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์ขององค์พระสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ภาพ


ภาพที่ 19 : ทัศนียภาพโดยรอบ


ภาพที่ 20 : ทัศนียภาพพื้นที่พักผ่อนและองค์ประกอบงานภูมิทัศน์


ภาพที่ 21 : ทัศนียภาพพื้นที่กิจกรรม ทางเดิน และองค์ประกอบงานภูมิทัศน์


ภาพที่ 22 : ทัศนียภาพพื้นที่กิจกรรม ทางเดิน และองค์ประกอบงานภูมิทัศน์

3.2 แบบเพื่อประกอบการพิจารณา เช่น ผังบริเวณ ผังพื้น รูปตัด รูปด้าน ทัศนียภาพ แบบนำเสนอ ฯลฯ

4. ข้อมูลหลังการออกแบบ การอภิปรายผล หรือ การวิจารณ์และสรุป หรือ ข้อเสนอแนะ

4.1 ประโยชน์ที่ได้รับจากการออกแบบ

การออกแบบวางผังภูมิสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมโดยคำนึงถึงสภาพเดิมของพื้นที่ก่อเกิดประโยชน์ทางตรง คือการระบายน้ำจากถนนและพื้นที่ข้างเคียง ไปกักเก็บน้ำไว้ใช้ เป็นการประหยัดงบประมาณค่าน้ำในการดูแลรักษาภูมิทัศน์ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้รับประโยชน์ทางอ้อมคือก่อให้เกิดทัศนียภาพที่สวยงามอีกด้วย นอกจากนี้การเลือกใช้วัสดุ พืชพันธุ์พื้นถิ่นมาใช้ในการออกแบบโดยการคำนึงประโยชน์การใช้งาน หาง่ายในท้องถิ่น เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ เพื่อง่ายต่อการดูแลรักษา ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่โครงการอื่นๆต่อไป

4.2 สรุปผลการออกแบบ การต่อยอดประยุกต์ในอนาคต
4.3 ปัญหาข้อจำกัด และแนวทางแก้ไข

บรรณานุกรม

เดชา บุญค้ำ. 2525. ภูมิสถาปัตยกรรม. วารสารอาษา สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(3): 47-54: ตุลาคม 2525.

ฉวีงาม มาเจริญ. สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน),2547 (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547).

Damian Holmes. 2022. 2022 Landscape Architecture Trends. สืบค้นออนไลน์. https://worldlandscapearchitect.com/2022-landscape-architecture-trends/#.Yeb4F_5BxPY. January 6, 2022.


กิติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณภาพกิจกรรมจากสื่อออนไลน์ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขต นครปฐม




<< ดูทั้งหมด >>